สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจะแปรตามปัจจัยบุคคล 3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38-0.63 และมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.90 ขึ้นไป และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณภาพการบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21) และ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.14)
2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามปัจจัยส่วนบุคคลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการศึกษา รายได้ และการเป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ สถานภาพ สมาชิกในครอบครัว และการมีผู้ดูแล
3. คุณภาพการบริการ ทั้ง 5 ประกอบด้วย ความเป็นรูปธรรมของการบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนครตัวแปรสามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ .555 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลและอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้จากมากไปน้อยเรียงลำดับ ดังนี้ (1) การให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ (Bata = .336) (2) ความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Bata = .333) (3) การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ (Bata = .136) ยกเว้น ตัวแปรความเชื่อถือไว้วางใจการตรวจสอบความต้องการของผู้รับบริการ
4. แนวทางพัฒนาการบริการผู้สูงอายุมีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความเป็นธรรมของบริการ 2) ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และ3) การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ควรมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้มารับบริการ จัดเตรียมสถานที่ มีการบริการน้ำดื่ม จัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุ บริการด้วยความสุภาพดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุที่มารับบริการตามความต้องการของแต่ละบุคคล และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย และด้านสิ่งแวดล้อม โดยควรมีการบริการตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทุกเดือน ส่งเสริมหรือจัดตั้งชมรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและเชิญชวนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายทุกวัน ควรมีส่งเสริมและพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และส่งเสริมให้มีระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอและสะดวกสบายแก่ผู้สูงอายุ
purposes of this research were the following: 1) to investigate the levels of the service quality and life quality of the elderly, 2) to compare the life quality of the elderly on the basis of the individual’s factors, 3) to study the influences of the service quality on the elderly’s life quality, and 4) to examine and obtain the guidelines on improving the quality of serving the elderly. The samples consisted of 260 elderly who resided in the service area of Lao Phon Kho Sub-district Administrative Organization, Khok Si Suphan District, Sakon Nakhon Province. The instruments used in the study included a questionnaire and the interview form; the questionnaire used contained the discrimination power which ranged from 0.38 - 0.63 and the reliability of 0.90 or higher. The statistics employed for data analysis comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One – way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, Multiple Linear Regression, and qualitative data analysis.
The study revealed these results:
1. As a whole, the service quality and the life quality of the elderly were at the high levels (= 4.21 and 4.14 respectively).
2. When comparing the life quality of the elderly who lived in Lao Phon Kho Sub-district Administrative Organization, Khok Si Suphan District, Sakon Nakhon Province on the basis of the individual’s factors, it was found that thelife quality of the elderly whose educational background, incomes, and membership of the Elderly Association varied were significantly different at .05 statistical level. However, the life quality of the elderly with different genders, ages, statuses, family members, and caregivers did not demonstrate any significant difference at statistical level.
3. The quality of the five services contained the objectivity of the services of Lao Phon Kho Sub-district Administrative Organization, Khok Si Suphan District, Sakon Nakhon Province and they could be used to accurately predict the life quality of the elderly at .05 level of statistical significance or with the MLR value of .555. Of these variables, the factor which had the highest influence on the elderly’ life quality was providing trust/confidence to the service users (β = .336). At the same time, the service objectivity showed the second most influence (β = .333), whereas the service user’s recognition/familiarity and understanding showed the third most influence (β = .136). Nevertheless, the service users’ trust/confidence and needs did not show any influence on the elderly’s life quality.
4. Three aspects were guided for improving the service quality for the elderly i.e. 1) the justice/fairness of the services, 2) trust/confidence in the service users, and 3) the recognition/familiarity and understanding of the users. In addition, several suggestions were given in the study. Lao Phon Kho Sub-district Administrative Organization, Khok Si Suphan District, Sakon Nakhon Province should provide adequate staff, organize the place, install the drinking water, and set up the tools to be ready for serving and facilitating the senior users’ needs. Services should be politely and attentively performed to serve the needs of each elderly. Two guidelines had been proposed to develop the physical and environmental quality of the lives of the elderly. Physically, the elderly’s health examination should be done on the monthly basis; health promotion association should be established; and the elderly should be encouraged to work out every day. Environmentally, the community environment should be developed and promoted at least once a month; and adequate public utilities should be promoted to help facilitate the elderly.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,870.62 KB |