สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จำนวน 242 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .418 - .800 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ระหว่าง .663 - .850 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัน์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผล การบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พบว่า ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริการสาธารณะได้ร้อยละ (44.10 R2Adj= .441) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (TL2) มีอิทธิพลสูงที่สุด (Beta= .316) รองลงมา คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (TL4) (Beta= .260) และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (TL1) (Beta= .188) มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ยกเว้นตัวแปรด้านการกระตุ้นทางปัญญา (TL3)
3. ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ผู้วิจัยพบ 2 แนวทาง คือ 1) การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว และ 2) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
The purposes of this research included the following: 1) to investigate the levels of transformational leadership and public service effectiveness of the local administrative organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province, 2) to study the influences of transformational leadership that affected an effectiveness of the public services of the local administrative organizations in the Na Kae District, Nakhon Phanom Province, 3) to propose guidelines for improving the effectiveness of the public services of the local administrative organizations in the Na Kae District, Nakhon Phanom Province. The samples consisted of 242 persons who performed their duties in the local government organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province. The tool used for data collection was a questionnaire whose discrimination power ranged from .418 to .800 and its Cronbach's alpha coefficient value between .663 - .850. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, Pearson's product moment correlation coefficient, and regression coefficient. As for the qualitative study, the researcher employed the structured interview form with 12 experts who were the target group. Content analysis was adopted to interpret the information gained from the interviews.
These results were obtained from the study:
1. As a whole, transformational leadership and public service effectiveness of the local administrative organizations in Na Kae District, Nakhon were at the high levels.
2. Analyzing the influences of the transformational leadership on the effectiveness of public services of the local government organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province, it was found that the transformational leadership could be used to correctly predict the effectiveness of the public services 44.10% (44.10 R2Adj = .441) or at .05 level of statistical significance. Of all variables, motivation/inspiration building (TL2) had the highest influence, (Beta = .316); whereas the contemplation of one’s individuality (TL4) and the ideological impact ( TL1) had the second and third most influences, (Beta = .260 and .188 respectively). Nevertheless, the intellectual stimulation (TL3), did not have any influence on the effectiveness of public services of the local government organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province.
3. These two guidelines were obtained to improve the effectiveness of public services of local administrative organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province: 1) promoting investment in commerce and tourism, and 2) conserving the natural resources and the environment.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 9,215.36 KB |