สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการดำเนินงานของงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการดำเนินงานของงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลในการดำเนินงานของงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรับแจ้งความ (=4.39) รองลงมาคือ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ (=4.39) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (=4.34) การสอบสวนปากคำ (=4. 34) การเปรียบเทียบปรับ (=4.32) การเก็บรักษาและ การคืนของกลาง (=4.31) การประกันตัวผู้ต้องหา (=4.30) การสืบสวนจับกุม (=4.29) การทำและสรุปสำนวนการสอบสวน (=4.13) และการเป็นพยานศาลและการติดตามพยาน (=3.98) ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นของพนักงานสอบสวน ต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรภาค 4 ในภาพรวม ตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ สถานภาพ คุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และขนาดของสถานีตำรวจที่พนักงานสอบสวนปฏิบัติงานอยู่ พบว่า ประสิทธิผลในการดำเนินงานของงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธร ภาค 4 ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน
The purposes of this research included the following: 1) to study the level of an effectiveness of the investigation of the Provincial Police Region 4, and 2) to compare the effectiveness of the investigation of the Provincial Police Region 4 on the basis of different personal qualities. The samples were 350 inquiry police officers who reported to the Provincial Police Region 4. The questionnaire was used as a tool to collect data and statistics employed for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA.
The study revealed these results:
1. The effectiveness of the investigation of the Provincial Police Region 4, as a whole, was at the high level (=4.28). When considering each aspect, it was found that the effectiveness of all aspects was at a high level. Raking these aspects according to the levels of their effectiveness, it was found that the effectiveness of receiving the reports and filings of crime, charges and complaints was at the highest level (=4.39); inspecting the scenes was at the second highest level (=4.39); mediating and reconciling the conflicts was at the third highest level (=4.34); interviewing and interrogating the involved parties was at the fourth highest level (=4.34); comparing and imposing the fines was at the fifth highest level (=4.32); keeping and returning the articles, objects, properties in dispute, and other proofs were at the sixth highest level (=4.31); bailing out the offenders was at the seventh highest level (=4.30); investigating the case and arresting the offenders and the culprits were at the eight highest level (=4.29); writing the concluding reports of the interrogations and interviews was at the ninth highest level (=4.13); and being/summoning the witnesses and giving testimony were at the lowest level (=3.98).
2. Comparing the effectiveness of the investigation of the Provincial Police Region 4 on the basis of different qualities of the inquiry police officers who reported to the Provincial Police Region 4, it was found that the police officers whose genders, ages, educational backgrounds, ranks, statuses, degrees, sizes of the stations differed, as a whole, did not possess different effectiveness of their investigation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,884.42 KB |