ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร
Job Motivation Affecting Work Efficiency of the Authorities of Sakon Nakhon National Parks
ผู้จัดทำ
มานะ ศรีวิชัย รหัส 60426423117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนและระดับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร ทั้ง 3 อุทยานแห่งชาติ จำนวน 245 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Analysis Regression) 

ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนครทั้ง 3 อุทยานแห่งชาติ  จำนวน 245 คน  ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  คิดเป็นร้อยละ 72.2 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.6  มีสถานภาพสมรส  คิดเป็นร้อยละ 62.4 มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี  คิดเป็นร้อยละ 51.4  ตำแหน่งลูกจ้างประจำ คิดเป็นร้อยละ 34.3  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท  คิดเป็นร้อยละ 45.3  และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี  คิดเป็นร้อยละ 40.8 ตามลำดับ

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจจัยจูงใจการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.31) ระดับปัจจัยค้ำจุนการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.26) และระดับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.24)

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุเพื่อพยากรณ์ปัจจัยจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร  พบว่า  ปัจจัยจูงใจ (MF) ทุกตัวแปรร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนครได้ร้อยละ 47.10 โดยความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (MF5) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์มากที่สุด (β=.329) ส่วนปัจจัยค้ำจุน (HF) ทุกตัวแปรร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนครได้ร้อยละ 59.30 โดยค่าจ้างและผลตอบแทน (HF7) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์มากที่สุด (β=.325)

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the levels of motivation factors, hygiene/maintenance factors, and work efficiency of the authorities of Sakon Nakhon National Parks, 2) to investigate the influences of motivation factors on work efficiency of the authorities of Sakon Nakhon National Parks, and 3) to explore and gain guidelines for improving the work efficiency of the authorities of Sakon Nakhon National Parks. The samples consisted of 245 authorities who worked for all 3 national parks located in Sakon Nakhon province. The instrument used for data collection was a questionnaire and the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean (x), standard deviation (SD), and Multiple Linear Regression Analysis. 

The study revealed these results: 

1. Of all samples, 245 authorities from 3 Sakon Nakhon National Parks, most of them or 72.2% of these authorities were males; 48.6 % were between 31-40 years old; 62.4% were married; 51.4% were educated in the levels which were lower than Bachelor’s degrees; 34.3% were employees; 45.3% earned monthly incomes from 5,001 to 10,000 baht; and 40.8% had been working at the national parks for 6 - 10 years, respectively.

2. Analyzing the data gained, it was found that the factors concerning the authorities’ job motivation, as a whole, were at the highest level (x = 4.31). At the same time, the factors involving the authorities’ hygiene/maintenance, as a whole, were also at the highest level (x = 4.26). In the same vein, work efficiency of Sakon Nakhon National Parks’ authorities, as a whole, was at the highest level (x = 4.24) as well. 

3. Adopting Multiple Regression Analysis to predict the influences of job motivation on work efficiency of Sakon Nakhon National Parks’ authorities, it was found that all variables of the motivation factors (MF) could be used to correctly predict the authorities’ work efficiency 47.10%. Of all factors, making progress on higher positions (MF5) gained highest correlation coefficient, or highest forecastability (β=.329). Meanwhile, the variables of the maintenance or hygiene factors could altogether be used to correctly predict work efficiency of Sakon Nakhon National Parks’ authorities 59.30%. Among these maintenance or hygiene factors, the pay or rewards (HF7) gained the highest correlation coefficient, or highest forecastability (β=.325).

คำสำคัญ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน, อุทยานแห่งชาติ
Keywords
Job motivation, work efficiency, national park
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,807.52 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 มีนาคม 2564 - 11:49:45
View 689 ครั้ง


^