สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านและประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะ ส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอธาตุพนม จำนวน 224 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.00) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีบทบาทในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ด้านการป้องกัน ( =4.08) รองลงมาคือ ด้านการบูรณาการ ( =4.02) ด้านการปราบปราม ( =3.96) และด้านการบำบัดรักษา ( =3.87) ตามลำดับ
2. ประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.00) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีประสิทธิผลในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการป้องกันกลุ่ม ผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ( =4.00) รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ( =3.99) ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด ( =3.92) ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด( =3.89) และด้านการสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม ( =3.84) ตามลำดับ
3. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อายุงาน และที่ตั้งของหมู่บ้าน พบว่า ประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม โดยภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านตำแหน่ง พบว่า ประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม โดยภาพรวม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .646 ซึ่งบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม ได้ร้อยละ 64.60
The purposes of this research were the following: 1) to study the level of the roles of the village and sub-district headmen in the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province, 2) to compare the respondents’ opinions on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province according to their different personal qualities, and 3) to examine the influences of the roles of the village and sub-district headmen on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province. The samples consisted of 224 village headmen, sub-district headmen, sub-district inspectors/assistants to sub-district headmen, sub-district health personnel/physicians, and assistants to the village headmen in That Phanom District. The instrument adopted for data collection was a questionnaire and statistics employed for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One-way ANOVA, and MRA (Multiple Regression Analysis).
The study revealed these results:
1. The roles of the village and sub-district headmen in the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province, as a whole, were at the high level ( =4.00). Contemplating each aspect, it was found that every aspect of the roles of the village and sub-district headmen in the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems was at the high level. Of these aspects, the prevention role was at the highest level ( =4.08) whereas the integration role was at the second highest level ( =4.02), the suppression role was at the third highest level ( =3.96), and the healing role was at the fourth highest level ( =3.87), respectively.
2. The village and sub-district headmen’s opinions on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province, as a whole, were at the high level ( =4.00). Contemplating each aspect, it was found that every aspect was at the high level. Of these aspects, the prevention of drug involvement group was at the highest level ( =4.00), whereas people’s participation was at the second highest level ( =3.99), the creation of the environment to prevent drug problems was at the third highest level ( =3.92), the solution of drug addicts’ problems was at the fourth highest level ( =3.89), and the creation and development of the systems to support the returning of decent people to the society were at the fifth highest level ( =3.84), respectively.
3. Comparing the respondents’ opinions on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province on the basis of their genders, ages, educational backgrounds, marital statuses, work experiences, and locations of the villages, it was found that their opinions on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province, as a whole, were not different. However, when comparing the opinions of the respondents whose positions differed, it was found that the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province, as a whole, was significantly different at .05 statistical level. 4. The roles of the village and sub-district headmen significantly influenced on the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province at .000 statistical level with the regression coefficient value (AdjR2) of .646. In other words, the roles of the village and sub-district headmen could be collaboratively used to accurately predict the effectiveness of the policy on preventing and solving drug problems in That Phanom District, Nakhon Phanom Province 64.60%.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,395.71 KB |