ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ข้อเสนอเชิงนโยบายประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร
Policy Proposals to Promote the Effectiveness of Sangha Affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office
ผู้จัดทำ
จินตนา คิ้วราชแยง รหัส 60426423202 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น, รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสกลนคร จำนวน 284 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t - test) และการทดสอบแบบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน (ar{X}  = 4.41) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสาธารณูปการ (ar{X} = 4.48) รองลงมาคือ ด้านการศาสนศึกษา (ar{X} = 4.47) ด้านการปกครอง (ar{X} = 4.40) ด้านสาธารณสงเคราะห์ (ar{X} = 4.39) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (ar{X} = 4.33) และด้านการศึกษาสงเคราะห์ (ar{X} = 4.32) ตามลำดับ

2. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพระสังฆาธิการที่มีอายุ พรรษา ตำแหน่งพระสังฆาธิการ นิกาย วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางบาลี และประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งพระสังฆาธิการ ที่ต่างกัน พบว่า ประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลในด้านวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน พบว่า ประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน

3. ข้อเสนอเชิงนโยบายประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร มีจำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการปกครอง ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office, 2) to compare the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office on the basis of personal traits, 3) to examine and provide policy proposals to promote the effectiveness of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office. The samples consisted of 284 Sangha administrators in Sakon Nakhon Sangha Region. The instrument employed for data collection was a questionnaire with 0.97 reliability to survey the opinions on the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office. Statistics adopted for data analysis incorporated frequency, percentage, standard deviation, t – test, F – test, and One – way ANOVA.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office, as a whole, was at the high level in every aspect (ar{X} = 4.41). Contemplating each aspect, it was found that the temples’ utilities were promoted at the highest level (ar{X} = 4.48). The religious studies were promoted at the second highest level ( = 4.47). The administration and ruling of the Sangha were promoted at the third highest level (ar{X} = 4.40). The public assistance/works was/were promoted at the fourth highest level ( = 4.39). The dissemination and proselytizing of Buddhism were promoted at the fifth highest level (ar{X} = 4.33). The management of the educational welfare/support was promoted at the lowest level (ar{X} = 4.32). 

2. Comparing the opinions of the Sangha administrators on the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office, it was found that the Sangha administrators with different ordination years, positions, sects, general educational backgrounds, Bali language educational backgrounds, experiences, and Sangha administration terms significantly had different opinions on the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office at .05 statistical level. Nevertheless, the Sangha administrators whose Dhamma education differed, as a whole and on each aspect, did not have different opinions on the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office. 

3. About the policy proposals, four aspects had been suggested for the effectiveness of the promotion of Sangha affairs of Sakon Nakhon Buddhism Office: the administration/ruling; educational welfare/support; Buddhism dissemination/proselytizing; and the public assistance/works.

คำสำคัญ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย, จังหวัดสกลนคร, ประสิทธิผลการส่งเสริมงานกิจการคณะสงฆ์
Keywords
Policy proposal, Sakon Nakhon, Effectiveness of the promotion of Sangha affairs
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,271.81 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 กุมภาพันธ์ 2564 - 16:23:47
View 449 ครั้ง


^