ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of Indicators of Information and Communication Technology Management for Learning in Primary Schools under the Primary Educational Service Area Offices in the Northeast
ผู้จัดทำ
บัวชมภู ภูกองไชย รหัส 60632233102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อการกำหนดกรอบแนวคิด การวิจัย และใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง จำนวน 3 รอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 21 คน ในขั้นการพัฒนาตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 การตรวจสอบโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 800 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน  5 คน 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 76 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ (2) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ (3) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ (4) ด้านการจัดทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ และ (5) ด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย 24 ตัวบ่งชี้ 

2. โมเดลตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 22.55, df = 40, p-value = 0.99, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.000, CN = 2248.66) 

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกด้าน
 

Abstract

The objectives of the study were: 1) to develop the indicators of information and communication technology (ICT) management for learning in primary schools, 2) to examine the congruence between the developed structural model of the indicators on ICT management for learning in primary schools and empirical data, and 3) to develop a user manual of indicators of ICT management for learning in primary schools. The research procedures were divided into three phases. The first phase was the conceptual framework determination and indicators development by studying of related documents  and research papers, interviewing five experts to determine the conceptual framework, while 3-round modified Delphi technique was applied with 21 experts at the stage of indicator development. The second phase was the examination  of the congruence between the developed structural model and empirical data. This data was collected from 800 school directors and teachers who were in charge of ICT system in primary schools under the Primary Educational Service Area Offices in the northeastern region in academic year 2019. The samples were selected using multi-stage random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire. Confirmatory factor analysis was employed in data analysis. The third phase was the development of the ICT management for learning indicator user manual, which was verified by five experts.

The results revealed that:

1. The ICT management for learning in primary schools comprised of five principal components, 20 sub-components and 76 indicators, which could be elaborated as: (1) 3 sub-components and 11 indicators on basic infrastructure, (2) 3 sub-components and 11 indicators on personnel competency development, (3) 4 sub-components and 12 indicators on learning management process, (4) 5 sub-components and 18 indicators on resources management for learning, and (5) 5 sub-components and 24 indicators on information and communication technology leadership.

2. The model of indicators on ICT management for learning in primary schools showed congruence with the empirical data with Chi-square  = 22.55, df = 40, p-value = 0.99, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.000, CN = 2248.66.

3. The manual of indicators on ICT management for learning in primary schools obtained IOC between 0.80-1.00, which was higher than the set criteria.
 

คำสำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้
Keywords
Information and Communication Technology (ICT), information and communication technology management for learning, indicators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,793.27 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 15:10:31
View 812 ครั้ง


^