ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Strategies in Sexual Harassment Prevention of Students in Schools Under the Secondary Educational Service Area Offices in the Northeast Region of Thailand
ผู้จัดทำ
วิเชียนศักดิ์ ทิพสิงห์ รหัส 60632233201 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า, ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ของคู่มือการใช้กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา ใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์ แบ่งเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย โดยวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบการป้องกันการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และนักเรียนจำนวน 18 คน ใน 3 โรงเรียน ๆ ละ 6 คน ขั้นที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์ โดยประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 540 คน จำแนกเป็น 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 180 คน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานทั่วไป หรือหัวหน้างานปกครอง จำนวน 180 คน และ 3) หัวหน้างานแนะแนว จำนวน 180 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 3 การพัฒนาและตรวจสอบคู่มือการใช้กลยุทธ์ โดยร่างคู่มือการใช้กลยุทธ์ นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและความมีประโยชน์ในการนำไปใช้

ผลการวิจัยพบว่า

1. กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบของครู กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการความรู้แก่นักเรียน กลยุทธ์ที่ 3 การป้องกันแบบมีส่วนร่วม และกลยุทธ์ที่ 4 การกำหนดและใช้บทลงโทษอย่างแข็งขัน 

2. ความเหมาะสมของกลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3 กลยุทธ์ และระดับมาก 1 กลยุทธ์ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 4 การกำหนดและใช้บทลงโทษอย่างแข็งขัน กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบของครู กลยุทธ์ที่ 3 การป้องกันแบบมีส่วนร่วม และกลยุทธ์ที่ 2 การจัดการความรู้แก่นักเรียน

3. คู่มือการใช้กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) คำชี้แจง 2) ความเป็นมาและความสำคัญ 3) วัตถุประสงค์ 4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และ5) กลยุทธ์ แผนงานและโครงการ มีความถูกต้องด้านเนื้อหาและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were to 1) develop the strategies in sexual harassment prevention of students in schools, 2) validate the developed strategies in sexual harassment prevention of students in schools, and 3) validate the appropriateness and usefulness of a handbook in sexual harassment prevention of students in schools. The mixed method research was employed. The study was divided into 3 phases as follows, Phase 1 the strategies development, divided into 2 steps: step 1 determining the research’s conceptual framework through document analysis and related literature, interviewing 5-academic experts and 18-key informants in the multi-case studies of sexual harassment prevention in 3 schools, 6 in each school, step 2 developing the strategies through a 9-expert group meeting. Phase 2 validating the developed strategies by asking 540 stakeholders which comprised of 1) school directors 2) deputy directors in student welfare and 3) head of guidance service, 180 in each group, selecting by    multi-stage random sampling. Phase 3 developing and validating a handbook in sexual harassment prevention of students in schools, 5-academic experts improved and revised the appropriateness of the content and the usefulness.

The findings were as follows:

1. There were 4 strategies of sexual harassment prevention of students in schools under the secondary educational service area offices in the northeast region of Thailand as follows: 1) the creation of awareness and responsibility for teachers, 2) the knowledge management for students, 3) the participatory prevention and 4) the determination and usage of penalties actively. 

2. The appropriateness of the developed strategies in sexual harassment prevention of students in schools under the secondary educational service area offices in the northeast region of Thailand was at the highest level. When considering in each strategy, it was found that three strategies were at the highest level and one was at high level as shown in order from high to low means as follows: strategy 4) the determination and usage of penalties actively, 1) the creation of awareness and responsibility for teachers, 3) the participatory prevention, and 2) the knowledge management for students, respectively. 

3. The handbook in the sexual harassment prevention of students in schools consisted of 1) explanation 2) background and significance 3) objectives 4) expected benefits and 5) strategies, plans, and projects. The appropriateness and usefulness of the handbook were at the highest level.

คำสำคัญ
กลยุทธ์, การคุกคามทางเพศ, การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียน
Keywords
Strategy, Sexual harassment, Students’ sexual harassment prevention
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 17,930.83 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 ตุลาคม 2563 - 09:45:01
View 1245 ครั้ง


^