สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ติดตาม และประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 381 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนา การศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษา ภาคะวันออกเฉียงเหนือ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อนำมาร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนา โดยทดลองใช้กับครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน ทั้งหมด 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษามี 5 องค์ประกอบ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายการเรียนรู้ ทักษะ การใช้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรม
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนาและการวัดและการประเมินผล ดำเนินการในระยะเวลา 2 วัน โดยใช้คู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 หน่วย ประกอบการปฏิบัติจริงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาที่ร่วมวิจัยมีภาวะผู้นำทางวิชาการหลังเข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบเพิ่มขึ้น โดยค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.7625 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.25
4. การนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) examine the components of instructional leadership of English language teachers in secondary schools in the Northeast; 2) to construct and develop a model for developing instructional leadership of English language teachers in secondary schools in the Northeast; and 3) to monitor and evaluate the effectiveness of the developed model. The Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I was related to investigating components of teacher instructional leadership through document inquiries, expert interviews, and a survey research. The sample consisted of 381 English language teachers working at secondary schools in the Northeast. A set of 5-point scale questionnaires was administrated and analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. Phase II was related to a construction of instructional leadership development model for English language teachers in secondary school in the Northeast. The interviews with nine experts were conducted to draw the drafted model, to verify and confirm the developed model. Phase III involved in the conduct of follow-up and evaluation of the model effectiveness. The developed model was implemented with 30 teachers who taught English subjects in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 22. The data drawn from the model implementation were analyzed through means and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The components of instructional leadership of English language teachers in secondary schools consisted of five components: Vision and Learning Goals, Skills, Use of Educational Media and Technology, Teaching Professional Development, and Morality and Ethics.
2. The model for developing instructional leadership of English language teachers in secondary schools in the Northeast consisted of principles, objectives, contents, development process, and measurement and evaluation. The two-day session was carried out in two separate sessions, namely actual setting practice, and sharing of knowledge, using the five volumes of handbooks for developing instructional leadership of English language teachers.
3. The effects after the model implementation revealed teachers’ high-level practices of instructional leadership with the effectiveness index of 0.7625 or 76.25 percent.
4. Teachers transferred knowledge and experiences gained during the training sessions to further improve personal and instructional practices at the highest level overall.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,865.56 KB |