ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11: พหุกรณีศึกษา
Primary School Administration with Performance Excellence the Office of the Basic Education Commission in The Provincial Areas of the Regional Education Office No. 11: Multiple Case Studies
ผู้จัดทำ
เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล รหัส 60632250102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของลักษณะการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษาแบบเจาะจง 3 ประเภท ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 3 โรงเรียนที่ บริหารสถานศึกษาที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยศึกษาและเก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึกการ วิเคราะห์ เอกสารและการสนทนากลุ่มย่อย โดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรหลักในสถาน ศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อเป็นการยืนยันความ เชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของข้อมูลจากแหล่งและชนิดของข้อมูลรวมทั้งความถูกต้องและความเชื่อถือได้

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 5 ด้าน 17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่

1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) งานนโยบาย โดยสถานศึกษาได้ขับเคลื่อนและติดตามนโยบายผ่านโครงการ
แผนงานและแผนปฏิบัติงานประจำปี 2) งานวิชาการ โดยสถานศึกษาจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาสอดแทรกการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตของนักเรียน 3) งานงบประมาณโดย สถานศึกษา ได้วางแผนจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการอย่างเหมาะสมและ  4) งานบริหารทั่วไป โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการประสานสัมพันธ์กับชุมชน เสริมสร้างให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสร้างความพอเพียงของผู้เรียน

2. ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้ ได้นำไปใช้เพื่อการศึกษาบูรณาการเข้ากับหลักสูตรการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาบูรณาการส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตราฐานการเรียนรู้ 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยจัดทำสื่อและแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้และ 4) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้อง มีวิธีการหลากหลายกับกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) กิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาจัดทำแผนงานแนะแนวเพื่อสนับสนุน การดำเนินชีวิตของ ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้อง 2) กิจกรรมนักเรียน สถานศึกษาจัดโครงการ แผนงานที่ส่งเสริม พัฒนานักเรียนได้มีส่วนร่วม และ 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาและมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมในชุมชนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

4. ด้านการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาบุคลากร โดยการนำความรู้มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) การติดตามและการขยายผลโดยผ่านกระบวนการติดตามผลการดำเนินงานบุคลากรทุกคนได้รับทราบ เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

5. ด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) สถานศึกษา จัดสถานศึกษาโดยเน้นที่กระบวนการทำงาน โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้บริหาร สถานศึกษาเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นแบบอย่างนำมาใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและใน การทำงาน 3) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่ทุกคนและ 4) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
 

Abstract

The purposes of this research were to examine the phenomenon of the administrative characteristics of primary schools with performance excellence based on the principles of sufficiency economy philosophy (PSEP). A purposive sampling was employed to enlist three schools with performance excellence of administration in three participating areas under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the Regional Education Office No. 11 (REO 11). The data has been collected by the researcher herself through in-depth interviews, observation and written records, document analysis, and a focus group of key school personnel and stakeholders. Triangulation was employed to confirm reliability and validation of data drawn from different types of data sources.

The findings were as follows:

The primary school administration with performance excellence based on the PSEP consisted of five aspects and 17 sub-components:      

1. Educational administration management aspect comprised four sub-components: 1) Policy task. Schools performed and monitored policy implementation through project plans and annual action plans, 2) Academic task. School created school curriculums with the emphasis given to integration of curriculum content with students’ learning and lives, 3) Budgeting task. The school activity plans were created for the benefit of school projects appropriately, and 4) General administration task. Schools strengthened school-community relations to enhance students’ well-being, which was a start point for building students’ sufficiency.

2. Teaching and learning management aspect included four components: 1) Learning units were implemented for educational purposes to integrate into the learning curriculum, 2) Learning management involved the integration of relevant information as required by the learning standards, 3) Materials and learning resources created to develop and support learning, and 4) Learning measurement and evaluation were perceived as relevant for learning development. Schools also adopted various approaches for learning activity management based on the PSEP.

3. Learners’ development activities consisted of three sub-components: 1) Guidance activities. Schools created guidance activity plans to support students’ lives accordingly, 2) Student activities. Schools organized the projects for promoting students’ participation, 3) Activities for society and public benefits.

4. Personnel development comprised two sub-components: 1) Personnel development promotion. Schools encouraged personnel to implement their knowledge based on the PSEP into practices and lives, 2) Follow-up and expansion were done through operational monitoring process. All personnel were informed with accurate information about professional development activities based on the PSEP.

5. The outcomes comprised four sub-components: 1) Schools focused on continuous development of work process, 2) School administrators had knowledge, understanding, and were role models in both lives and work, 3) Personnel had knowledge, understanding and were role models, and 4) Learners obtained knowledge and understanding to apply the PSEP as a guideline for future career and everyday life practice.
 

คำสำคัญ
การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, พหุกรณีศึกษา
Keywords
Primary School Administration, Principles of Sufficiency Economy Philosophy, Multiple Case Studies
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 16,787.32 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 12:02:28
View 561 ครั้ง


^