ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า
Development of Teacher competency on Learning Management in the 21st Century: A Case of Ban Natan Khamkha School
ผู้จัดทำ
วนิดา ภูชำนิ รหัส 60632250103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์,รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า 2) ศึกษาปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า 4) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 21 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 7 คน ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย 1) ขั้นวินิจฉัย (Diagnose) 2) ขั้นดำเนินการ (Act) 3) ขั้นวัดผล (Measure) และ 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า แบบประเมินการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์'

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่ามี 10 องค์ประกอบ 44 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) ทักษะการสื่อสาร มี 3 ตัวชี้วัด 2) การจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 5 ตัวชี้วัด 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน มี 3 ตัวชี้วัด 4) ภาวะผู้นำครู มี 5 ตัวชี้วัด 5) คุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มี 5 ตัวชี้วัด 6) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 7) การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ มี 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 8 ทักษะการคิดมี 5 ตัวชี้วัด 9) การทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มี 7 ตัวชี้วัด และ10) การวัดและการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน มี 3 ตัวชี้วัด 

2. ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า ตามลำดับ ดังนี้ 1) ครูขาดทักษะการสื่อสาร 2) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญน้อย 3) ครูขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4) ครูขาดการพัฒนาภาวะผู้นำครู 5) ครูขาดการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ 6) ครูมีทักษะในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอ 7) ครูต้องการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ 8) ครูขาดการพัฒนาทักษะการคิด 9) ครูต้องการพัฒนาการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น 10) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่เพียงพอ

3. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยเลือกแนวทางการพัฒนาโดยร่วมกันกำหนดโครงการ/กิจกรรม จำนวน 10 โครงการ 20 กิจกรรม

4. ผลการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
            4.1 การประเมินการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า ทั้ง 10 องค์ประกอบ 44 ตัวชี้วัด ผลการดำเนินโครงการกิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก  
            4.2 ผลการเปรียบเทียบผลการพัฒนาการดำเนินงาน วงรอบ 1 และวงรอบ 2 พบว่า องค์ประกอบที่ 3 การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับ ดี มีความก้าวหน้าจากวงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 86.35 และองค์ประกอบที่ 4 ภาวะผู้นำครู อยู่ในระดับ ดีมาก มีความก้าวหน้าจากวงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 87.41
            4.3 ผลการสะท้อนจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่า ครูมีการพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูมีการจัดกิจกรรม PLC ส่งผลให้ครูกล้าแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันครูให้ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอน ครูฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในตนเองและมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components of teacher competency on learning management, 2) investigate the problems and needs for developing teacher competency on learning management, 3) establish the guidelines for developing teacher competency on learning management in the 21st century at Ban Natan Khamkha School, and 4) examine the effects after the implementation. A group of co-researchers consisted of a researcher, 21 
co-researchers, and seven informants. The research employed the two-spiral participatory action research with four steps, including Diagnose, Act, Measure, and Reflect. The research tools were a set of needs questionnaires, evaluation forms, observation forms, and interview forms.

The findings were as follows:

1. The components of teacher competency on learning management consisted of ten components with 44 indicators: 1) Communication skills with three indicators, 2) Learner-centered instruction with five indicators, 3) Research for developing learners with three indicators, 4) Teacher leadership with five indicators, 5) Code of morals and ethics of profession with five indicators, 6) Utilization of innovations and information technology for learning management with five indicators, 7) Development of integrated curriculum with two indicators, 8) Thinking skills with five indicators, 9) Teamwork and mutual knowledge sharing with seven indicators, and 10) Measurement and evaluation for learner development with three indicators

2. The problems that teachers experienced in terms of competency development were identified for further improvement as follows: 1) lacking in communication skills, 2) limited knowledge and understanding about learner-centered teaching, 3) insufficient knowledge and understanding in researching for learner development, 4) inadequate teacher leadership development, 5) limited professional moral and ethical development, and 6) insufficient skills in utilizing innovations and information technology for learning management. Needs concerning teacher competency improvement comprised the following: 1) knowledge and understanding on integrated curriculum development, 2) thinking skills development, 3) teamwork and knowledge sharing improvement, and 4) knowledge and understanding on measurement and evaluation for learner development.

3. The guidelines for developing teacher competency on learner management in the 21st century at Ban Natan Khamkha School were selected by the research and co-researchers within an agreed aet of ten projects with 20 activities.

4. The effects after the implementation revealed that:  
            4.1 The overall mean score of the school projects for developing teacher competency on learning management in the 21st century was at a high level.
            4.2 The comparison results after the two-spiral implementation showed that compared with the first spiral, the second spiral’s third component on research for learner development was at a good level and achieved the progress toward 86.35 percent, whereas the fourth component on teacher leadership was at a very good level and had the progress toward 87.41 percent.
            4.3 The key informants perceived that teachers gained knowledge and understanding on conducting a classroom research for learner development and achieved the goal setting of learning management in the 21st century. Teachers organized PLC activities which fostered self-confidence in expressing themselves creatively and beneficially for knowledge sharing in terms of instructional activities. Teachers also worked collaboratively to improve instructional practices and learners’ awareness for self-responsibilities and learning inquiry. 
 

คำสำคัญ
สมรรถนะของครู ,การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Keywords
Teacher Competency, Learning Management in the 21st century
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,291.26 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:20:54
View 1144 ครั้ง


^