ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Program for Developing Administrative Competencies on Information Technology for Educational Institution Administration of Secondary School Administrators in the Northeast
ผู้จัดทำ
พนัสเทพ กุลวงศ์ รหัส 60632250110 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร , รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ประเมินโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบที่พัฒนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบโปรแกรมการพัฒนา ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 933 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 335 คน ได้มาโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาโปรแกรม การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อนำมา ร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การประเมินโปรแกรม โดยทดลองใช้กับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 5 องค์ประกอบ คือ แผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างองค์การ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำ และบุคลากร

2. โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการวัดและการประเมินผล ดำเนินการในระยะเวลา 2 วัน โดยใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 หน่วย ประกอบด้วย การปฏิบัติจริงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. ผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ร่วมวิจัยมีสมรรถนะ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาหลังเข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบเพิ่มขึ้น โดยค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.7204 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.04 และการนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components regarding the development of administrative competencies in information technology (IT) for educational institution administration of secondary school administrators in  the Northeast, 2) to construct and develop the program for improving administrative competencies in IT for educational institution administration of secondary school administrators in the Northeast, and 3) to evaluate the developed program. The Research and Development research design consisted of three phases: Phase 1: Investigation into Components of the Development Program through document inquiries, expert interviews, and survey research with the population of 933 school administrators. The sample group was 335 school administrators in secondary schools in the Northeast, obtained through multi-stage random sampling. The research instrument was a set of 5-level rating scale questionnaires. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviations. Phase 2: Program Construction and Development. The interviews with seven experts were carried out to draft the program, review and confirm the drafted program. Phase 3: Program Evaluation. The developed program was implemented with 30 school administrators. Data collection was analyzed using mean and standard deviation.    

The research results were as follows:

1. The five components of the administrative competencies in IT  for educational institution administration of secondary school administrators in the Northeast comprised: IT strategic plans, organizational structure, IT infrastructure, leadership, and personnel.

2. The developed program consisted of principles, objectives, contents, development processes, and measurement and evaluation. The two-day program was conducted using the handbooks for developing administrative competencies in IT for educational institution administration of secondary school administrators in the Northeast consisting of five units. The development process involved participating in actual practice settings and shared learning. 

3. The effects after the implementation of the developed program revealed that after the program implementation, secondary school administrators participating  in the research improved their administrative competencies in IT for educational institution administration. The effectiveness index of the development of IT administration for educational institution administration of secondary school administrators in the Northeast achieved 0.7204 or 72.04 percent. The aspect in terms of transferring the knowledge and experience gained for self-and task development of secondary school administrators was overall at the highest level.
 

คำสำคัญ
โปรแกรมการพัฒนา สมรรถนะ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords
Development Program, Competency, IT Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,121.65 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 กุมภาพันธ์ 2566 - 13:41:11
View 382 ครั้ง


^