ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียน ประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model for Developing Digital Era Leadership of Primary School Teachers in the Northeast Region
ผู้จัดทำ
ณัฐยาภรณ์ เล็กสิงห์โต รหัส 60632250112 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลที่เหมาะสมของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นโดยการทดลองใช้ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนามี 3 ระยะ รวม 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัล เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 375 คน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of analysis) และผู้ให้ข้อมูลหลักคือครูผู้สอนโรงเรียนละ 1 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 375 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนา คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษาในศูนย์เครือข่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อยและ 60 
ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ความรู้ความสามารถในการสอน มี 7 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ 2) การมีทักษะและความรู้ดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ 3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน มี 2 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ และ4) การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล มี 3 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล

3. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.75) และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) ของการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพัฒนาสูงกว่า ระยะก่อนการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components of digital era leadership of primary school teachers in the Northeast region, 2) construct and develop a model for developing digital era leadership of primary school teachers in the Northeast region, and 3) validate the effectiveness of the developed model. The Research and Development approach was performed in three phases with seven stages. The sample of key informants, obtained through a simple random sampling, consisted of 375 teachers from 375 primary schools in the Northeast region in the academic year 2021. Additionally, the sampling schools were selected as the unit of analysis, and one teacher was drawn from each school. The sample for the development process consisted of 30 primary school teachers from the 5th Basic Education Network Center under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments included 1) structured interview forms for experts examining the components of digital era leadership of primary school teachers, 2) a set of questionnaires examining digital era leadership of primary school teachers, and 3) teacher behavior assessment forms. Statistics for data collection were percentage, mean, and standard deviation.


    The findings were as follows:

1. The components of digital era leadership of primary school teachers consisted of four major components with 16 sub-components and 60 indicators: 1) Instructional knowledge and abilities with seven sub-components and 15 indicators; 2) Digital skills and knowledge with four sub-components and 15 indicators; 3) Digital technology abilities of instruction with two sub-components and 15 indicators, and 4) Literacy in digital technologies with three sub-components and 15 indicators.

2. The model for developing digital era leadership of primary school teachers in the Northeast region included: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) development processes, and 5) measurement and evaluation.

3. The efficiency of the model for developing digital era leadership of primary school teachers in the Northeast region, as a whole, was suitable at the highest level (X ̅ = 4.75). The effectiveness index of the development of digital era leadership of primary school teachers in the Northeast achieved 70 percent, which was higher than that of before the model implementation.
 

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู
Keywords
A Development Model, Digital Era Leadership of Teachers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,286.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 10:48:47
View 1784 ครั้ง


^