สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 336 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 45 คน ครูผู้สอน จำนวน 246 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .98 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ One - Way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 อยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน พบว่า สถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน พบว่า สถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
6. ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิภาพ หลักความเสมอภาค หลักการกระจายอำนาจ หลักความโปร่งใส และหลักประสิทธิผล มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน ร้อยละ 81.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±.19435
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 6 หลัก ได้แก่ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิภาพ หลักความเสมอภาค หลักการกระจายอำนาจ หลักความโปร่งใส และหลักประสิทธิผล
The purposes of this research aimed to examine administrative factors based on good governance principles affecting school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 23. The samples were 45 school administrators, 246 teachers, and 45 chairmen of the basic education school committee from the Secondary Educational Service Area Office 23, in the academic 2019, yielding a total of 336 participants. The research instrument for data collection was a set of questionnaire comprising two aspects: Aspect 1- Administrative factors based on good governance principles in schools with the reliability of .98; Aspect 2- School effectiveness with the reliability of .99. The statistics for data analysis included percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrative factors based on good governance principles in schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 were at the highest level.
2. The school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 23 was at a high level.
3. The administrative factors based on good governance principles in schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 revealed that participants from different positions, and work experiences expressed differing opinions with a statistical significance at .05 level. In terms of schools’ sizes, participants’ opinions differed with a statistical significance at .01 level.
4. The school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 23 revealed that participants from different positions, and school sizes had different opinions with a statistical significance at .01 level. As for different work experiences, participants showed no different opinions.
5. The relationship between administrative factors based on good governance principles and school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 23 as perceived by participants had a positive relationship at the .01 statistical significance level.
6. The administrative factors based on good governance comprising consensus oriented, effectiveness, equity, decentralization, transparency, and efficiency had a predictive power on school effectiveness at the .01 statistical significance level in overall with a predictive power of 81.50 percent and the standard error of the estimate of ±.19435.
7. The guidelines for developing administrative factors based on good governance principles affecting school effectiveness needing improvement involved six principles: consensus oriented, effectiveness, equity, decentralization, transparency, and efficiency.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,189.63 KB |