สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสำนักงานเขตพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน 3) หาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย ใช้การวิเคราะห์ t-test ชนิด Independent samples และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความคิดเห็นสูงกว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน สำหรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีความคิดเห็นสูงกว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ไว้ 3 ด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านบุคลิกภาพ และด้านบริหารจัดการ
The purposes of this research were to: 1) examine the desirable characteristics of school administrators under Primary Educational Service Area Office () in Sakon Nakhon Province, 2) compare the desirable characteristics of school PESAO administrators under PESAO in Sakon Nakhon Province, classified by position attained, school sizes, work experiences, and individual area office, and 3) establish the guidelines for developing desirable characteristics of school administrators under PESAO in Sakon Nakhon Province. The sample was a total 363 participants, including school administrators and teachers working under PESAO in Sakon Nakhon Province. The instruments for data collection was a set of questionnaires and interview forms. The statistics for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation. The hypotheses were tested by t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA.
The findings were as follows:
1. The overall desirable characteristics of school administrators under PESAO in Sakon Nakhon Province, as perceived by school administrators and teachers were at a high level.
2. The desirable characteristics of school administrators under PESAO in Sakon Nakhon Province, as perceived by participants classified by school sizes were not different in overall. School administrators and teachers from small-sized schools expressed their opinions more than ones from medium and big-sized schools at the 0.05 level of significance. The opinions of school administrators working at medium-sized schools and big-sized schools were not different. The opinions of participants with different work experiences on the desirable characteristics of school administrators as a whole and each aspect showed no difference. In terms of area office, participants from Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 expressed opinions more than ones from Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 at the 0.05 level of significance, whereas each aspect was not different.
3. The proposed guidelines for developing the desirable characteristics of school administrators under Primary Education Service Area in Sakon Nakhon Province consisted of three aspects: Visions, Personality, and Administrative Management.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,477.79 KB |