ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22
Instructional Leadership of Teachers Affecting Learning Organization in Schools under Secondary Education Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
สุชาติ พันธ์ก้อม รหัส 61421229106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของครู และความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 399 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 62 คน และครูผู้สอน จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของครู มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 และด้านความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานขนาดโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน
ไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยรวม พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านการพัฒนาผู้เรียน สามารถพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ร้อยละ 55.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± .223

7. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Abstract

The purposes of this research were to examine the level of instructional leadership of teachers affecting learning organization in schools under Secondary Education Service Area Office 22. The samples were 62 school administrators, 337 teachers, yielding a total of 399 participants from schools under Secondary Education Service Area Office 22 in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire comprising two parts: instructional leadership and school learning organization parts with the reliability of .86 and .89, respectively. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. Instructional leadership of teachers under Secondary Education Service Area Office 22 was at the highest level.

2. Learning organization in schools under Secondary Education Service Area Office 22 was at a high level.

3. Teacher’s instructional leadership, as perceived by participants from different positions, work experiences, school sizes, and provinces, as a whole showed a statistically significant difference at the level of .01.

4. School learning organization as perceived by participants from different positions, work experiences, school sizes, and provinces, as a whole and each aspect was not different.

5. Teachers’ instructional leadership and school learning organization under Secondary Educational Service Area Office 22 as a whole had a positive relationship at the .01 level of statistical significance.

6. Instructional leadership of teachers in terms of self and colleague development, curriculum and learning management, class management, and student development was able to predict the effectiveness of school learning organization at the .01 level of statistical significance in overall with the predictive power of 55.90 percent, and standard error of estimates ± .223

7. Teachers’ instructional leadership affecting school learning organization involved six aspects needing improvement: self and colleague development, curriculum and learning management, student development, class management, building school-community relationships and cooperation for learning management, and analysis, synthesis and research for learner development.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, องค์การแห่งการเรียนรู้
Keywords
Instructional Leadership, Learning Organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,978.31 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 มิถุนายน 2563 - 14:08:14
View 1260 ครั้ง


^