ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11
Administrative Effectiveness of World-Class Standard Primary Schools under the Regional Education Office No. 11
ผู้จัดทำ
วิชุดา เมาบุดดา รหัส 61421229107 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.55 - 0.93 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนต่างกันพบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนในจังหวัดต่างกัน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

4. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้

4.1 ด้านคุณลักษณะผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ผู้เรียนให้สามารถสื่อสารภาษาที่ใช้เป็นภาษาสื่อสารในระดับสากล (Universal Language) และภาษาแม่ (Maternal Language) ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว การเสริมสร้างความสามารถของผู้เรียนด้านการริเริ่มสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนทางด้านความคิดและการสื่อสาร และการสร้างความตระหนักรู้การร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลกแก่ผู้เรียน      

4.2 ด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ประกอบด้วย การจัดทำแผนพัฒนาครูทั้งระยะสั้นและระยะยาว การปลูกฝังอุดมการณ์และจรรยาบรรณาวิชาชีพครู การให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในและต่างประเทศ โดยให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และความเป็นไปของโลก อีกทั้งการจัดหาทุนวิจัยและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำวิจัยในชั้นเรียน วิจัยสถาบัน สามารถนำเสนอผลการวิจัยในระดับชาติ และนำผลการวิจัยมาพัฒนางานที่โรงเรียนให้ได้คุณภาพ

4.3 ด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ประกอบด้วย การพัฒนาการบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานให้เป็นระบบและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ส่วนด้านเครือข่ายร่วมพัฒนา ควรเป็นเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และร่วมพัฒนากับสถานศึกษาระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นศูนย์เครือข่ายพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไปโดยให้เป็นไปตามระบบ OBECQA และ TQA ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่องและชัดเจน มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล พ.ศ. 2561

 

Abstract

The purposes of this research were to compare the administrative effectiveness of world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11 as perceived by school administrators/heads of departments, members of the basic education committee and teachers. The sample consisted of 198 participants, including school administrators/heads of departments, members of the basic educational committee and teachers in world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11. The research tools consisted of a 5-rating scale questionnaire with the discriminative power ranging from 0.55 to 0.93 and the reliability of 0.99. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. The administrative effectiveness of world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11, as perceived by participants, was at a high level in overall and individual aspect.

2. The administrative effectiveness of world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11, as perceived by participants from different schools, were significantly different at .01 level in overall and individual aspect.

3. The administrative effectiveness of world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11, as perceived by participants working in schools from different provinces, was not different in overall and individual aspect.    

4. The proposed guidelines for developing the administrative effectiveness in world-class standard primary schools under the Regional Education Office No. 11 involved three aspects:

4.1 Global Citizenship Character of Students. The guidelines should involve supporting learners to communicate using universal language and maternal language fluently, enhancing learners’ initiatives by constructing creative innovation, enhancing students’ capacities for thinking and communication, and building learners’ awareness on global citizenship responsibility.

4.2 Instructional Management Equivalent to World-Class Standards. The guidelines should involve establishing short-term and long-term teachers’ development plans, cultivating ideology and ethics of teacher profession, giving teachers opportunities to exchange experiences on instructional management within national and international levels in relation to world situations and possibilities, providing research funds and encouraging teachers and educators to conduct classroom research and institutional research, presenting individual research results at a national level, and implementing research results to practices improving the quality of school performance.

4.3 Quality System Management. To implement this guideline, the administrative management development of fundamental factors should be of a more systematic application and transparency for further inspections. In terms of network development partnerships, learning management network and partnerships among educational institutions at local, regional, national and international levels, and building and seeking support networks from higher education institutions and other related organizations should be established. In addition, the world-class standard primary schools should become network information development centers in distributing information to communities and the general public in accordance with Office of the Basic Education Commission Quality Award (OBECQA) and Thailand Quality Award (TQA) system- a continuous and clear quality management process to enforce compliance with the operational guidelines of the World-Class Standard Schools B.E. 2561.

คำสำคัญ
ประสิทธิผลการบริหาร, โรงเรียนมาตรฐานสากล
Keywords
Management Effectiveness, World-Class Standard Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,140.15 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 23:02:47
View 583 ครั้ง


^