ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Instructional Leadership of School Administrators Affecting Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
สรายุทธ สิมมาจันทร์ รหัส 61421229108 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 318 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบใช้สัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 98 คน และครูผู้สอนจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .93 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .97 และแบบสัมภาษณ์การหาแนวทางพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแต่ละขั้น (Stepwise multiple regression analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม มีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวม มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาครู ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดการหลักสูตรและการสอน และการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียน ร้อยละ 41.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±.23991

7. ภาวะผู้ทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ควรจะมีการเข้าร่วม สัมมนา อบรม ศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จทางการบริหารการศึกษา 2) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน ควรจะปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทในชุมชน 3) ด้านการพัฒนาครูผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนให้ครูผู้สอน ทำวิจัยเพื่อพัฒนาตนเองและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และ 4) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

Abstract

The purposes of this research were to examine instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, comprised 98 school administrators, and 220 teachers, yielding a total of 318 participants working under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2019. The research instruments for data collection were a set of questionnaires containing two aspects: aspect 1: instructional leadership of school administrators with the reliability of .93; aspect 2: effectiveness of academic affairs administration with the reliability of .97, and interview forms for development guidelines. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. Instructional leadership of school administrators and effectiveness of academic affairs administration as perceived by participants as a whole were at a high level.

2. Instructional leadership of administrators, as perceived by participants as a whole differed with a statistically significant difference at the .01 level. Effectiveness of academic affairs administration as a whole was not different.

3. Instructional leadership of school administrators and effectiveness of academic affairs administration as perceived by participants with different work experiences as a whole and each aspect were not different.

4. Instructional leadership of school administrators and effectiveness of academic affairs administration, as perceived by participants from different school sizes as a whole were significantly different at the .01 level.

5. The relationship between instructional leadership of school administrators and effectiveness of academic affairs administration as a whole had a positive relationship at the .01 statistical significance level.

6. Instructional leadership of school administrators comprised teacher development, creation of learning atmosphere, curriculum and teaching management, and establishment of visions, goals, and missions had the predictive power of 41.10 percent on effectiveness of academic affairs administration and standard error of estimates of ±.23991.

7. Instructional leadership of school administrators affecting effectiveness of academic affairs administration needing improvement involved four aspects: 1) Establishment of visions, goals, and missions. School administrators should attend training seminars, and visit best practices; 2) Curriculum and teaching management. School administrators should refine the school curriculum with regard to community context; 3) Teacher development. School administrators should support teachers conducting research for self-development and improving teaching and learning management; and 4) Creating a learning atmosphere. School administrators should provide teachers opportunities for managing teaching and learning in a range of activities, offering students to learning by doing approach, and searching for knowledge by themselves.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลการบริหารทางวิชาการ
Keywords
Instructional Leadership of School Administrators, Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,762.77 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ตุลาคม 2563 - 14:58:42
View 1148 ครั้ง


^