ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Personal Characteristics of School Administrators Affecting Effectiveness of Teacher performance in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
วรัชยา ลาบบุญ รหัส 61421229110 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน 4) เปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน 5) หาอำนาจพยากรณ์คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 6) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน และ 7) หาแนวทางยกระดับคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 339 คน จาก 212 โรงเรียน แยกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 67 คน และครูผู้สอน 272 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนโดยใช้สถานศึกษาในการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีความเชื่อมั่น = .983 สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและวุฒิทางการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลิกภาพ (X1) มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.644

6. แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมี 2 ด้าน คือ ด้านความเป็นผู้นำและด้านมนุษยสัมพันธ์

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine personal characteristics of school administrators and the effectiveness of teacher performance in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office (BKN-PESAO); 2) identify the effectiveness of teacher performance in schools under BKN-PESAO; 3) compare personal characteristics of school administrators with the effectiveness of teacher performance in schools, as perceived by school administrators and teachers classified by positions, educational level, and work experiences; 4) compare the effectiveness of teacher performance in schools, classified by positions, educational level, and work experiences; 5) identify the effectiveness of teacher performance in schools under BKN-PESAO; 6) determine the relationship between personal characteristics of school administrators and the effectiveness of teacher performance in schools under BKN-PESAO; and 7) establish the guidelines for developing the personal characteristics of school administrators affecting the effectiveness of teacher performance in schools under BKN-PESAO. The sample group in this research comprised 339 participants from 212 schools, including 67 school administrators, and 272 teachers working in primary schools under BKN-PESAO in the academic year 2019. The sample size estimation was conducted using Krejcie and Morgan’s formula. The sampling technique was done through multi-stage random sampling using school sampling unit. The instrument for data collection was a set of 5-point rating scale questionnaires with the reliability of .983. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.  

The findings were as follows:

1. The personal characteristics of school administrators as perceived by participants as a whole and each aspect were at a high level. 

2. The effectiveness of teacher performance as perceived by participants as a whole and each aspect was at a high level. 

3. The personal characteristics of school administrators, as perceived by participants classified by positions and educational level, as a whole and each aspect were not different. In addition, there was no significant difference of the overall personal characteristics of school administrators as perceived by participants with different work experiences. When considering each aspect, it was found that participations’ opinions toward personality (X1) were different at .05 level of statistical significance.

4. The effectiveness of teacher performance, as perceived by participants with different positions, educational level, and work experiences, as a whole and each aspect was not different.

5. The relationship between personal characteristics of school administrators and the effectiveness of teacher performance in schools had a positive relationship at rather high level with the correlation coefficient values of 0.644.

6. The guidelines for developing personal characteristics of school administrators affecting teacher performance consisted of two aspects: Leadership, and Human relations.
 

คำสำคัญ
คุณลักษณะส่วนบุคคล, ประสิทธิผล, การปฏิบัติงานของครู
Keywords
Personal Characteristics, Effectiveness, Teacher Performance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,664.78 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ตุลาคม 2563 - 14:48:44
View 2251 ครั้ง


^