ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสกลนคร
Internal Quality Assurance Operations for Educational Institutions under the Office of Non-Formal and Informal Education in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
วิวัฒน์ น้อยพิทักษ์ รหัส 61421229113 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหา การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา / ครู / ครูอาสาสมัครฯ ครู กศน.ตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน จำแนกตามสถานภาพของการดำรงตำแหน่ง ขนาดของอำเภอ เขตพื้นที่ต่างกัน และหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 360 คน ผู้บริหาร/ครู / ครูอาสาสมัครฯ จำนวน 71 คน ครู กศน.ตำบล จำนวน 181 คน ครูศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 108 คน จาก 18 สถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และแบบสัมภาษณ์ ค่าอำนาจจำแนกของสภาพอยู่ระหว่าง 0.683 – 0.973 และปัญหาอยู่ระหว่าง 0.927 – 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (ar{x}) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย

3. สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  จำแนกตามสถานภาพของการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของอำเภอ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน

6. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร  7 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรฐานตามกฎของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินคุณภาพภายใน ระบบแบบแผนในกระบวนการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายใน 2) มีมาตรฐานตามหัวข้อ จัดทำปฏิทินออกแบบในการทำแผน เพื่อจัดทำรูปแบบ ที่ชัดเจน หยิบใช้ได้สะดวก ตามกระบวนการวงจรเดมมิ่ง 3) มีหัวหน้ามาตรฐานติดตามงาน  4) มีรูปแบบการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบชัดเจน สามารถปฏิบัติได้อย่าง สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด 5) ดำเนินการทบทวนหลังกิจกรรม (After action review) 6) รายงานผลการดำเนินงานตามหัวข้อ ตามมาตรฐานที่กำหนดใช้ในการประกันคุณภาพภายในและ 7) การนำเสนอรายงานเป็นเชิงประจักษ์ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง

Abstract

The purposes of this research were to examine and compare the conditions and problems of internal quality assurance operations in educational institutions under the Office of Non-Formal and Informal Education in Sakon Nakhon Province based on participants’ opinions, classified by positions, sizes of districts, and educational service areas, and to establish the guidelines for developing internal quality assurance operations in educational institutions. The samples were drawn from 18 educational institutions, including 71 administrators / teachers / volunteer teachers, 181 teachers from Subdistrict Non-Formal and Informal Education, and 108 teachers from Community Learning Centers, yielding a total of 360 participants, in the 2019 academic year. The tools for data collection were a set of 5-rating scale questionnaires and interview forms with the discriminative power ranging between 0.683 and 0.973 and 0.927 and 0.982 for operational conditions and problems, respectively. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA. The qualitative data were also analyzed and presented.

The findings were as follows:

1. Operational conditions of internal quality assurance in educational institutions as a whole were at a high level.

2. Operational problems of internal quality assurance in educational institutions as a whole were at a low level.

3. Conditions and problems of internal quality assurance in educational institutions classified by positions as a whole were not different.

4. Conditions and problems of internal quality assurance in educational institutions classified by sizes of districts as a whole were not different.

5. Conditions and problems of internal quality assurance in educational institutions classified by educational service areas as a whole were not different.

6. The guidelines for developing internal quality assurance operations in educational institutions under the Office of Non-Formal and Informal Education in Sakon Nakhon Province involved seven aspects: 1) Standards in accordance with the required regulations prescribed by the Ministry of Education for internal quality assessment and the systematic planning of process development for enhancing the success of internal quality assurance; 2) Standards Establishment in accordance with the required topics, and creation planning and design calendars in a clear and easy access format regarding the Deming Cycle; 3) Appointment of internal quality assurance supervisors to follow up the tasks; 4) Provision of a clear supervision and inspection format to be able to perform conveniently, quickly, and efficiently according to the prescribed standards; 5) Conducting an After Action Review; 6) Reporting the operational performance according to the assigned topics and the specified standards for internal quality assurance; and 7) Presenting and publicizing empirical report results.

คำสำคัญ
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Keywords
Internal Quality Assurance Operation, Non-Formal Education and Informal Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 14,210.60 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
15 มิถุนายน 2563 - 15:43:27
View 1988 ครั้ง


^