ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร
Conditions, Problems and Guidelines for Developing School Risk Management under the Sakon Nakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education
ผู้จัดทำ
อานนท์ พลไชย รหัส 61421229115 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม, ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา การเปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครูการศึกษานอกโรงเรียนตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562  จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษาที่แตกต่างกัน ซึ่งได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ซึ่งสภาพการบริหารความเสี่ยง มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.87-0.96 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.996 และปัญหาการบริหารความเสี่ยง มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.62-0.92 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก และปัญหาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง

2. เปรียบเทียบระดับสภาพการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน และเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.      

3. เปรียบเทียบระดับสภาพ ปัญหาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาจำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน

4. เปรียบเทียบระดับสภาพการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดสถานศึกษาแตกต่างกัน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาแตกต่างกัน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ และด้านการดำเนินงาน

5.1 ด้านกลยุทธ์ สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด มีการติดตามผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง

5.2 ด้านการดำเนินงาน ผู้บริหารสามารถทำงานร่วมกันหรือมอบหมายงานให้บุคลากรเข้าใจในขอบเขตอำนาจหน้าที่ และกำหนดมาตรการนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานทุกขั้นตอน

Abstract

The purposes of this research were: to examine conditions and problems, to compare conditions and problems, and to establish the guidelines for developing school risk management at Sakon Nakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education institutions, as perceived by school administrators, civil service teachers, non-formal education volunteer teachers, teachers working at subdistrict non-formal education, and teachers working at community learning centers under the Sakon Nakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education, in the academic year 2019, classified by different positions, work experiences and school sizes. The sample size of 191 persons was determined by using the Krejcic and Morgan tables. The research tools included a set of questionnaires and interview forms with the Item Objective Congruence index (IOC) of 1.00. The risk management conditions and problems were analyzed with a set of questionnaires with a predictive power result ranging from 0.87 to 0.96, 0.62 to 0.92, respectively, with a reliability of 0.996 and 0.987 respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA and qualitative analysis.

The findings were as follows:

1. School risk management conditions were rated at a high level, whilst problems were rated at a medium level.

2. Comparison results of risk management conditions and work positions showed no difference. When comparing a level of risk management problems classified by work positions, there was a statistical significance of difference at .05 level

3. Result comparisons in terms of school risk management conditions and problems classified by different work experiences showed no difference.

4. Result comparisons in terms of school risk management conditions classified by different school sizes were different with statistical significance at the level of .05. When comparing school risk management problems classified by different school sizes, the differences showed a statistical significance at the level of .01

5. Guidelines for developing school risk management consisted of two aspects: Strategies and Operations.

5.1 Strategies. Schools must have clear visions and goals in accordance with the specified policies and conduct continuous monitoring on operations in compliance with established strategies.    

5.2 Operations. School administrators should be able to work together or assign tasks to personnel, understand the scope of authorities and establish measurement concerning supervision, control, and monitoring. In addition, the operational inspections should be implemented at every step.

คำสำคัญ
การบริหารความเสี่ยง, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Keywords
Risk Management, Non-formal and Informal Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,383.67 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 21:56:30
View 545 ครั้ง


^