ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทสของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
The Relationship between Leadership in Information Technology of School Administrators and School Effectiveness under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
นิศาชล บำรุงภักดี รหัส 61421229120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ม ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่ใช้สัดส่วน (Non-proportional  Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .978 และ 989 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .542-.879 และ .508-.908 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples)   การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับการจัดการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน

4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และระดับการจัดการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนควรได้รับการพัฒนา มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรจัดอบรม สัมมนา สร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษานำวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศไปสู่การปฏิบัติ 2) ด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรจัดสรรงบประมาณ จัดอบรม และได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและ 3) ด้านสนับสนุนสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดอบรมการใช้สื่อการสอนด้านเทคโนโลยี จัดสรรงบประมาณและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ส่วนแนวทางพัฒนาประสิทธิผลโรงเรียน ควรได้รับการพัฒนา 1 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารงานบุคคล ควรจัดอบรมสัมมนา ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการทำงาน

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, identify the relationship and establish the guidelines for developing leadership in Information Technology (IT) of school administrators and school effectiveness under the Local Administrative Organization (LAO) in Sakon Nakhon Province. The samples, obtained through non-proportional stratified random sampling, consisted of 200 administrators and teachers in the academic year 2019. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning IT leadership of school administrators and school effectiveness with the reliability of .978 and .989 and the discriminative power from .542 to .879 and from .508 to .908, respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, the Scheffe method for pair matching comparison and Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient.

The findings were as follows:

1. The IT leadership of school administrators, as a whole and each aspect was at a high level.

2. The school effectiveness, as a whole and each aspect was at a high level.

3. The IT leadership of school administrators as perceived by participants with different work experiences, type of Local Government Organization and type of school program provision, as a whole showed no difference. In terms of positions, the results showed significant differences at the .01 level. School administrators were observed to express more opinions than teachers.
4. The school effectiveness as perceived by participants classified by positions, work experiences and type of school program provision, as a whole showed no difference. In terms of type of Local Administrative Organization, the results showed significant difference at the .05 level.
5. The IT leadership of school administrators and school effectiveness, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.

6. The guidelines for developing IT leadership of school administrators involved three aspects needing improvement: 1) IT Visions. Schools should provide the following: seminars, raising awareness and supporting administrators to share IT visions and put into practice; 2) IT Competency. Schools should provide financial support, trainings and learning resources; and 3) IT Support for Instructional Management. Schools should allocate financial support for the integration of technology for instructional management. In addition, the guidelines for developing school effectiveness needing improvement comprised one aspect: Personnel Management. Schools should provide trainings and seminars to promote personnel development concerning IT knowledge as well as computers and IT utilization for work process management.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี , ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Information Technology Leadership, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,182.87 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 21:50:27
View 1211 ครั้ง


^