ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Relationship between the Participative Management of Administrators and Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
จิตรา แก้วมะ รหัส 61421229125 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์, ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 333 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 53 คน และครูผู้สอน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.95 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.45-95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนจำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วม กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาแนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการประเมินผล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลโรงเรียน และแนวทางยกระดับประสิทธิผลการบรหารงานวิชาการของโรงเรียน จำนวน 10 ด้าน คือ 1) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 2) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา  3) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 4) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 5) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการนิเทศการศึกษา 6) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการแนะแนว7) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในและมาตรฐานการศึกษา 8) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ  9) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และ 10) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship and establish the guidelines for developing participative management of school administrators and effectiveness of school academic affairs administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group in this research comprised a total of 333 participants in the academic year 2019, including 53 school administrators and 280 teachers. The tools for data collection were two sets of 5-rating scale questionnaires containing participative management of school administrators with the discriminative power between 0.45 and 0.95 and the reliability of 0.88, and the questionnaire on effectiveness of academic affairs administration with the discriminative power between 0.33 and 0.89 and the reliability of 0.86. The statistics for data analysis are percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, and Pearson's Product Moment Correlation Analysis.

The findings were as follows:

1. The overall participative management of school administrators was at a high level.

2. The overall effectiveness of school academic affairs administration was at a high level.

3. The participative administration of school administrators as perceived by participants, classified by different positions, showed no difference. With regard to different school sizes, it was found that school size effects reached the statistical significance at the .05 level. In addition, the analysis found a statistically significant difference at the .01 level in terms of work experiences.

4. The effectiveness of school academic affairs administration classified by positions and work experiences was different at a statistically significant difference of .01 level. No statistically significant difference was found in terms of school sizes.

5. The participative management and the effectiveness of school academic affairs administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office1 confirmed a significant positive relationship with a statistically significant difference of .01 level.

6. This research proposed the guidelines for developing participative administration of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 covering two aspects: 1) Participation in taking benefits, and 2) Participation in evaluation for improving school effectiveness. The guidelines for upgrading the effectiveness of the school academic affairs administration covered ten aspects: 1) Development principles or operations of local curriculum, 2) Development of educational management principles in schools 3) Research principles development for improving educational quality in schools 4) Educational principles to promote learning sources, 5) Development of educational supervision principles, 6) Guidance principles, 7) Principles of quality assurance system development, 8) Principles of community support to strengthen academic strength for person, family, organizations, workplace and other educational institutions,  9) Principles of academic promotion and support for individuals, families, organizations, establishments, and other educational providers, and 10) Principles of regulation and guidelines on academic works of educational institutions.

คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Participative Management, Academic Affairs Administration Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,280.12 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 ตุลาคม 2563 - 09:36:56
View 2911 ครั้ง


^