สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลโรงเรียน 3) เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียน 4) เปรียบเทียบประสิทธิผลโรงเรียน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลโรงเรียน 6) หาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน 7) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 366 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 69 คน และครูผู้สอนจำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่า 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.41-0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (T-Test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่าสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน ไม่แตกต่างกัน ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน และ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน พบว่า สถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z’ = 0.210 Z7 + 0.184 Z9 + 0.172 Z10 + 0.159 Z2 + 0.116 Z6 + 0.107 Z5 + 0.094 Z8
6. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ 1) หลักการกระจายอำนาจ กำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความคล่องตัว 2) หลักความเสมอภาค ต้องกำหนดกฎ ระเบียบที่ชัดเจน 3) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ยึดหลักประชาธิปไตย 4) หลักประสิทธิภาพ ต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์ 5) หลักนิติธรรม นำกฎหมาย กฎ ระเบียบ 6) หลักความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และ 7) หลักการมีส่วนร่วม เสนอแนวคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
The purposes of this research were to: 1) examine administration in accordance with good governance principles, 2) explore school effectiveness, 3) compare administration with regard to good governance principles, 4) compare school effectiveness, 5) identify the relationship between administration based on good governance principles and school effectiveness, 6) determine the predictive power of administration based on good governance principles affecting school effectiveness, and 7) establish the guidelines for developing administration based on good governance principles affecting school effectiveness. The samples consisted of 69 school administrators and 297 teachers, yielding a total of 366 participants in the 2019 academic year. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with the Item Objective Congruence (IOC) of each item ranging from 0.80 to 1.00, the discriminative power ranging from 0.41 to 0.93 and the reliability of 0.97. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t – test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. Administration based on good governance principles as a whole and each aspect was at a high level.
2. School effectiveness as a whole and each aspect was at a high level.
3. Administration based on good governance principles, as perceived by participants classified by status, school sizes and work experiences revealed that there were no differences among participants with different positions and school sizes. In terms of work experiences, there were a statistically significant difference at the .01 level.
4. School effectiveness as perceived by participants classified by status, school sizes, and work experiences revealed that there were no differences among participants with different positions and school sizes. In terms of work experiences, there were a statistically significant difference at the .01 level.
5. The relationship between administration with regard to good governance principles and school effectiveness as a whole showed a positive relationship with a statistical significance at .01 level.
The regression analysis equation could be written in standard scores as follows:
Z’ = 0.210 Z7 + 0.184 Z9 + 0.172 Z10 + 0.159 Z2 + 0.116 Z6 + 0.107 Z5 + 0.094 Z8.
6. Administration based on good governance principles were able to predict school effectiveness with a statistical significance at .01 level.
7. This research proposed the guidelines for developing administration based on good governance principles as follows: 1) Decentralization- stationing designated personnel with responsibility in assigned areas or at specified service points to provide efficient processes, 2) Equality-establishing clearly defined rules and regulations regarding equity and diversity, 3) Consensus Oriented-focusing on democratic practices, 4) Efficiency- creating strategic planning, 5) Rule of Law- applying legal rules and regulations, 6) Transparency – providing suitable oversight and accountability, and 7) Participation- offering opportunities for exchanging ideas.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 12,481.43 KB |