สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 330 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 110 คน และครูผู้สอน จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ได้ค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้ออยู่ระหว่าง 0.370 - 0.911 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.962 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t - test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า ผู้ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นมากกว่าผู้ที่อยู่โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ 3) ด้านการติดต่อสื่อสารและ 4) ด้านการเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ และ 5) ด้านการเป็นนักสร้างพลังแรงบันดาลใจเชิงบวก
The purposes of this research were to examine the desirable characteristics of school administrators in Thailand 4.0 era under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office, to compare desirable characteristics of school administrators in Thailand 4.0 era, classified by positions, school sizes and work experiences. The samples consisted of 110 school administrators and 220 teachers, yielding a total of 330 participants under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in the academic year 2019. Research tools for data collection included a set of questionnaires concerning the desirable characteristics of school administrators with IOC values between 0.80 and 1.00 and the item discriminative power ranging from 0.370 to 0.911 with the reliability of 0.962, and interview forms concerning the guidelines for developing desirable characteristics of school administrators. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, Independent Samples t-test and One-Way ANOVA.
The findings were as follows:
1. The desired characteristics of school administrators as a whole was at a high level.
2. The desired characteristics of school administrators as perceived by participants, classified by positions as a whole and each aspect was statistically significantly different at .05 level.
3. The desired characteristics of school administrators as perceived by participants, classified by school sizes as a whole were not different, and so not supporting the hypothesis. When considering each pair, participants working in large-sized schools expressed their opinions more than those from small-sized and medium-sized schools.
4. The desired characteristics of school administrators as perceived by participants, classified by work experiences as a whole and each aspect were significantly different at the statistical level of .05.
5. The guidelines for developing desirable characteristics of school administrators in the Thailand 4.0 era were proposed. These involved five aspects identified as needing improvement: 1) Having Vision, 2) Academic Leader, 3) Communication and Collaboration Using Technology, 4) Showing Initiative, and 5) Being a Motivator.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,387.14 KB |