สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบและหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน หน่วยงานต้นสังกัด และประเภทของโรงเรียนที่เปิดสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan จำนวน 372 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 124 คน และครูผู้สอน จำนวน 248 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.40-0.98 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระกัน (Independent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน หน่วยงานต้นสังกัด และประเภทโรงเรียนที่เปิดสอนพบว่าไม่แตกต่างกัน
3. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง และด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งไว้ด้วย
The purposes of this research were to examine, compare and establish the guidelines for developing effectiveness of school personnel management of school administrators under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in Sakon Nakhon Province as perceived by school administrations and teachers, classified
by status, work experiences, individual organization, and types of school program provision. The sample size estimation was carried out using Krejcie and Morgan’s formula. Based on it, the sample consisted of 372 participants, including 124 school administrators and 248 teachers working under the OBEC in Sakon Nakhon Province in the 2019 academic year. The sampling technique was done through multi-stage random sampling. The research instrument included a 5 point-rating scale questionnaire with the discriminative power ranged from 0.40 to 0.98 and the reliability of 0.99. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested by using Independent Samples t-test, One-Way ANOVA and Scheffe’s Pairwise Comparison of Means.
The findings were as follows:
1. The overall effectiveness of personnel management of school administrators under the OBEC in Sakon Nakhon Province, as perceived by participants, was at a high level.
2. The effectiveness of personnel management of school administrators under the OBEC in Sakon Nakhon Province, as perceived by participants with different positions attained showed significant differences at .01 level. In terms of work experiences, individual organization, and types of school program provision, the results showed no difference.
3. The research also proposed the guidelines for developing school personnel management in terms of manpower planning, position designation, and recruitment and appointment.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 14,559.86 KB |