สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 306 คน ได้มาโดยการใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบใช้สัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 66 คน ครู จำนวน 174 คน และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามด้านสภาพการใช้เทคโนโลยี มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .975 ด้านปัญหาการใช้เทคโนโลยี มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.58 - 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .983 ซึ่งทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนก 0.33 - 0.83 และค่าความเชื่อมั่น .997 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาอยู่ในระดับน้อย
2. สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ จำแนกตามตามขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหา โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 มีความเห็นมากกว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนม เขต 2
6. การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครพนม ไว้จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ดังนี้
6.1 ด้านงานงบประมาณ สถานศึกษาควรวางแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และสร้างระบบ Big DATA ให้ระบบโปรแกรมทุกระบบเชื่อมต่อทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน
6.2 ด้านการบริหารงานบุคคล ควรจัดอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถให้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
6.3 ด้านการบริหารทั่วไป ควรมีเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบ OBEC MAIL หรือที่เรียกว่า อีเมลภาครัฐ มีผู้ใช้น้อย ดังนั้น ภาครัฐควรพัฒนาระบบอีเมลภาครัฐให้เหมือนกับอีเมลภาคเอกชน
The purposes of this research were to survey conditions and problems of using information technology (IT) for administration in Educational Opportunity Expansion Schools in Nakhon Phanom province. The samples, obtained through a proportional stratified random sampling technique, were 66 school administrators,
174 teachers, and 66 clerical teachers, yielding a total of 306 participants working in Educational Opportunity Expansion Schools in Nakhon Phanom province in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a set of questionnaires and interview forms. The validity of the survey questionnaire in terms of conditions and problems of IT utilization showed discriminative power values ranging from 0.33 to 0.79, from 0.58 to 0.83 and the reliability of .975 and .983, respectively. Total validity values ranged from 0.33 to 0.83 with the reliability of .997. The statistics employed for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t- test, One-Way ANOVA, and content analysis.
The findings were as follows:
1. The conditions of IT utilization for administration in Educational Expansion Schools in Nakhon Phanom province, as perceived by participants as a whole was at a high level, whereas the problems were at a low level.
2. The conditions and problems of IT utilization for administration, as perceived by participants as a whole and each aspect showed no difference.
3. The conditions and problems of IT utilization for administration, as perceived by participants from different work experiences, as a whole and each aspect were not different.
4. The conditions and problems of IT utilization for administration, as perceived by participants from different school sizes, as a whole and each aspect were not different.
5. The conditions of IT utilization for administration, as perceived by participants from different Educational Service Area Offices, as a whole and each aspect showed no difference. In terms of problems, there were differences at a statistical significance of .01 level in overall and each aspect. Participants from Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1 expressed more opinions than those from Nakhon Phanom Educational Service Area Office 2
6. The guidelines for developing IT utilization for administration in in Educational Opportunity Expansion Schools in Nakhon Phanom province consisted of three aspects: Budgeting, personnel management, and general administration.
6.1 Budgeting: Schools should plan for IT utilization for administration, supplying modern equipment, and construct a Big DATA system for networked shared-data resources.
6.2 Personnel Management: Schools should provide trainings for personnel development to obtain better knowledge and abilities, and self-improvement.
6.3 General Administration: Schools should utilize IT into practices concerning student assistance systems and OBEC MAIL system, also known as government officials’ emails. OBEC email usage practices in educational institution context have not been success and popularity; therefore, the government agencies should develop effective use of public emails.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 12,799.79 KB |