ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Administrative Effectiveness of World-Class Standard Schools Under Secondary Education Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
วรนาถ ชมภูยันต์ รหัส 61421229137 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.สุรพล บุญมีทองอยู่
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร และครูผู้สอนโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 428 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random) ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 124 คน และครูผู้สอน จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล มีค่าความเชื่อมั่น .96 และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, และ One-Way ANOVA 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอนโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05

5. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนโดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

6. แนวทางพัฒนาประสิทธิผลบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะผู้เรียนผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก 1.1) สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา มีแนวทางยกระดับ คือ โรงเรียนควรจัดสรรบุคลากรที่เป็นเจ้าของภาษามาจัดการเรียนการสอน โรงเรียนควรมีกิจกรรมส่งเสริมทักษะ และการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนการสอนที่สอดแทรกภาษาที่ 2 เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้ภาษาที่ 2 และการพัฒนาครู 1.2) ล้ำหน้าทางความคิด มีแนวทางยกระดับ คือ ผู้บริหาร และครูต้องบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลให้แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนควรกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานตามที่ผู้เรียนถนัด และสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานผ่านเวทีจัดแสดง 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ประกอบด้วย ด้านคุณภาพครู มีแนวทางยกระดับ คือ ครูจะต้องได้รับการพัฒนาผ่านการอบรม ศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และรู้จักการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกวิธี และครูต้องมุ่งมั่นที่จะต้องพัฒนาตนเองด้วยการฝึกฝนตนเองในทุก ๆ ด้าน โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาตนเอง เช่น การศึกษาต่อ และอบรมวิชาการ

Abstract

The purposes of this research were to examine and compare the administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22. The sample comprised a total of 428 participants, selected by multi-stage random selection, including 124 administrators, and 372 teachers working in schools under Secondary Educational Service Area Office 22 in the academic year 2019. The instrument for data collection was a set of questionnaires for estimation.  The research instrument was a questionnaire concerning administrative effectiveness of world-class standard schools with the reliability of .96 and an expert interview form to establish the guidelines for improving the administrative effectiveness of world-class standard schools. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, and One-Way ANOVA. 

The findings were as follows:

1. The administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22, as perceived by participants was at a high level in overall.

2. The administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22, as perceived by participants as a whole and aspect was not different. 

3. The overall administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22, as perceived by participants from different school sizes, showed a statistical significance at .01 level.

4. The administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22, as perceived by participants with different work experiences showed a difference with a statistical significance at the .05 level.

5. The administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22, as perceived by participants from difference provinces, as a whole and each aspect showed no significant difference.

6. The guidelines for improving the administrative effectiveness of world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office 22 proposed two specific aspects needing improvement: 1) Student Qualities of World Citizenship comprising 1.1) Bilingual communication (Communication). The approaches should be particularly relevant for supporting this aspect, including recruitment and selection native-language personnel for teaching and learning management, a provision of skills promotion activities, online learning, integration of a second language (L2) into practices focusing on opportunities for learners to participate in L2 situations, and teacher development; 1.2) Advanced Thinking (Thinker). School administrators and teachers must manage world-class standard schools differently from other general education schools with a combination of the following activities: promoting critical thinking, project-based teaching and learning based on students’ abilities and interest, and giving students opportunities to present their work publicly; 2) Instructional management as comparable international standards comprising 2.1) Teacher quality. The range of approaches should include teachers’ trainings, best practice visits and knowing how to transfer knowledge correctly, and commitment to self-development. Schools should also provide opportunities for teachers’ self-development, such as continuing education and academic trainings.

คำสำคัญ
ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล, โรงเรียนมาตรฐานสากล
Keywords
Administrative Effectiveness of World-Class Standard Schools, World-Class Standard Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,875.66 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 ตุลาคม 2563 - 12:17:14
View 1039 ครั้ง


^