ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
Conditions and Effectiveness of School Budget Management under Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
รักษณาลี สุริหาร รหัส 61421229139 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.เพลินพิศ ธรมมรัตน์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงาน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน และหาแนวทางยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  จำนวน 360 คน ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test ) แบบ Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  ที่มีขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22  ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5.  สภาพการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่มีจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนด้านประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มี 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดทำแผนงบประมาณ ควรมีการวิเคราะห์สถานภาพของโรงเรียนด้วยการ SWOT Analysis กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดอย่างชัดเจน 2) ด้านการรายงานผลการดำเนินการ ควรมีรูปแบบที่ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ งบประมาณที่ได้รับ ปัญหา อุปสรรค และผลการดำเนินงาน 3) ด้านการตรวจสอบภายใน  ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายในของโรงเรียน ใช้หลักการการมีส่วนร่วมมีความโปร่งใส มีหลักฐานตรวจสอบได้ และ 4) ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

Abstract

The purposes of this research were to investigate and compare conditions and effectiveness of school budget administration under Secondary Educational Service Area Office 22 (SESAO 22) as perceived by school directors, vice-directors or heads of the budget management group and teachers classified by positions, school sizes, work experiences and provincial location. The guidelines for developing school budget management were also examined. The samples, obtained through multi-stage random sampling, were 360 participants, including school directors, vice-directors or heads of the budget management group and teachers from 81 schools under the SESAO 22 in the academic year of 2019. The instruments for data collection were a set of questionnaires and interview forms. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants as a whole were at a high level.

2. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants classified by positions as a whole and each aspect showed no difference.

3. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants from different school sizes as a whole and each aspect showed no difference.

4. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants with different work experiences as a whole showed no difference.

5. Conditions of school budget administration as perceived by participants from different provincial location as a whole were different at the .05  level of significance, whereas the effectiveness of school budget management as a whole was different at the .01 level of significance.

6. The guidelines for improving the effectiveness of school budget management consisted of four aspects: 1) Budgeting Planning. School budgeting planning should involve SWOT analysis, and the establishment of clear vision and mission statements, objectives, strategies, productivities, outcomes, and indicators; 2) Operation Report. The school operation report should be consistent with the evaluation formats covering objectives, budget allocation, problems and constraints of school operations; 3) Internal Auditing. The school internal audit committee should be appointed. The audit practices should base on principles of participation, transparency, and verified evidences; 4) Education Resource Mobilization and Investment. Schools should offer stakeholders opportunities for participation in school operations.

คำสำคัญ
การบริหารงบประมาณของโรงเรียน, ประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน
Keywords
School Budget Management, Effectiveness of School Budget Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,316.33 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มิถุนายน 2563 - 11:36:58
View 1189 ครั้ง


^