ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Stakeholder Participation in Educational Management in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
เพ็ญประภา สมพงษ์ รหัส 61421229140 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการจัด การศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา ระดับการศึกษา และจังหวัดที่ตั้งสถานศึกษาของผู้มีส่วนได้เสีย 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 353 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 65 คน ครูผู้สอน จำนวน 158 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .987 ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเท่ากับ 0.447 - 0.852 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล t-test, F-test (One-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า  

1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่มีสถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่มีขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่มีจังหวัดแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้าน พบว่าด้านการติดตามและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยจังหวัดนครพนมมีระดับความคิดเห็นมากกว่าจังหวัดมุกดาหาร

6. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการ ศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่

6.1 ด้านการดำเนินงาน สถานศึกษาควรคัดสรรบุคคลที่มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีความตั้งใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

6.2 ด้านการติดตามประเมินผล สถานศึกษาเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมตามบทบาทอำนาจหน้าที่ หรือกำหนดขอบเขตหน้าที่การติดตามประเมินผลให้ชัดเจน

6.3 ด้านการรับผลประโยชน์สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรม โครงการที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม และทุกภาคส่วน

Abstract

The purposes of this research aimed to: 1) examine stakeholder participation in educational management in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 (SESAO 22);  2) compare the level of stakeholder participation in educational management in schools under the SESAO 22, classified by positions, school sizes, educational level and provinces; 3) establish the guidelines for developing stakeholder participation in educational management in schools under the SESAO 22. The sample, obtained through multi-stage sampling, were 65 administrators, 158 teachers, and 130 member of school board committee, yielding a total of 335 participants from schools under the SESAO 22 in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing stakeholder participation in school educational management with the reliability of .987 and the discriminative power ranging from 0.447 to 0.852. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. Stakeholder participation in school educational management under the SESAO 22 as a whole was at a high level.

2. Stakeholder participation in school educational management under the SESAO 22, as perceived by participants from different positions, as a whole and each aspect showed statistical significance at .01 level.

3. Stakeholder participation in school educational management under the SESAO 22, as perceived by participants from different school sizes, as a whole and each aspect was not different.

4. Stakeholder participation in school educational management under the SESAO 22, as perceived by participants from different educational level, as a whole and each aspect was not different.

5. Stakeholder participation in school educational management under the SESAO 22, as perceived by participants from different provinces, as a whole was not different. As for each aspect, differences were found statistically significant at the .05 level in terms of monitoring and evaluation aspect. Participants from Nakhon Phanom province perceived the said variables more than those in Mukdahan province.

6. The guidelines for developing stakeholder participants in school educational management under the SESAO 22 involved three aspects:

6.1 In terms of operations, schools should focus on ensuring a selection of individuals who understand the roles and responsibilities in the organization, and demonstrate a willingness to participate in educational management.

6.2 In terms of monitoring and evaluation, schools should provide opportunities for participation in accordance with roles and authorities or clearly defined scopes of duties for monitoring and evaluation.

6.3 In terms of school benefit received, schools must conduct useful activities and projects responding to the needs of communities, societies and all sectors.

คำสำคัญ
การจัดการศึกษา, การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Keywords
Educational Management, Stakeholder Participation
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 15,453.13 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มิถุนายน 2563 - 11:57:40
View 673 ครั้ง


^