ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาปฐมวัยเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมุกดาหาร
The Development of Teacher Potential on Learning Experience Management to Enhance Multiple Intelligences of Early Childhood Students under Private Kindergarten Educational Institute Networking Group under Mukdahan Provincial Education Office
ผู้จัดทำ
ศศิธร กัลยารัตน์ รหัส 61421229142 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาปฐมวัยเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมุกดาหาร 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ ในแต่ละวงรอบประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 18 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาปฐมวัยเอกชน ดังนี้

1.1 สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ยังไม่เพียงพอ และแบบแผนการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน ทำให้การจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ

1.2 ปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยไม่เพียงพอ

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย มี 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และ 3) การนิเทศติดตาม 

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย พบว่า 

3.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนา (ar{x} = 20.82) คิดเป็นร้อยละ 69.41 และคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนา (ar{x} = 26.88) คิดเป็นร้อยละ 89.61 ซึ่งมีผลคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 6.06 มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 20.20

3.2 ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย วงรอบที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ar{x} =3.86) และวงรอบที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x} = 4.75) เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของครูเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย วงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.89 คิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 17.80 

3.3 ผลการสังเกตการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย วงรอบที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ar{x} = 3.98) และวงรอบที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x} = 4.65) เมื่อเปรียบเทียบผลการสังเกตการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย วงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.67 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 13.40

Abstract

The purposes for this research were: 1) to examine conditions and problems in managing learning experience to enhance multiple intelligences of early childhood students, Private Kindergarten Educational Institute Networking Group under Mukdahan Provincial Education Office; 2) to establish the guidelines for teacher potential development in managing learning experiences to enhance multiple intelligences of early childhood students; and 3) to follow up the effects after the intervention. The two-spiral action research were employed with each cycle forming four steps of planning, action, observation and reflection. The target group consisted of 18 participants, including a research and co-researchers, and 10 informants. The research instruments were pretest and posttest evaluation forms, observation forms, self-assessment forms, and interview forms. Statistics for data analysis were mean, percentage and standard deviation. Content analysis was presented in a format of descriptive data.

The findings were as follows:

1. The conditions and problems of learning experience management to enhance multiple intelligences of early childhood students were as follows:

1.1 In terms of conditions, learning experience management to enhance multiple intelligences of early childhood students was inadequate. Operation plans were not well-defined, which led to ineffective learning experience management.

1.2 In terms of problems, teachers’ knowledge and understanding on learning experience management to enhance multiple intelligences of early childhood students were insufficient.

2. The guidelines for teacher potential development concerning learning experience management to enhance multiple intelligences of early childhood students involved three means as follows: 1) a training workshop, 2) Professional Learning Community (PLC), and 3) a follow-up supervision.

3. The effects after the intervention revealed that:

3.1 Teachers had knowledge, understanding and skills in managing learning experience to enhance multiple intelligences of early childhood students with the pre-intervention mean score of 20.82 or 69.41 percent. The post-intervention mean score was 26.88 or 89.61 percent, which increased 6.06 points with the percentage of progress of 20.20. 

3.2 Teachers were able to manage overall learning experience to enhance multiple intelligences of early childhood students, in the first spiral at a high level (ar{x} = 3.86) and the second spiral at the highest level (ar{x} = 4.75). When comparing the evaluation results from two spirals, the overall mean score increased by 0.89 points with the percentage of progress of 17.80.

3.3 The effects after the observation session of early childhood students’ learning revealed that the first spiral as a whole was at a high level 
(ar{x} = 3.98) and the second spiral was at the highest level ( = 4.65). When comparing the evaluation results of the two spirals, the overall mean score increased by 0.67 points with the percentage of progress of 13.40. 

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู พหุปัญญา เด็กปฐมวัย
Keywords
Teacher Potential Development, Multiple intelligences, Early childhood Students
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,795.66 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ตุลาคม 2563 - 15:26:14
View 496 ครั้ง


^