ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม
Work Performance Based on Ten Principles of a Righteous King of School Administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
เมธี นาอุดม รหัส 61421229144 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 และเขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 360 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 120 คน ครูผู้สอน จำนวน 120 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประเมินค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.240-0.842 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม พบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาด

ของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสังกัดของโรงเรียน พบว่าโดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมเสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านศีละ (ความประพฤติดีงาม) ผู้บริหารจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน โดยจะต้องนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารงาน 2) ด้านอาชชวะ (ความซื่อตรง) ควรใช้โครงการโรงเรียนสุจริตมาใช้ในการบริหารงาน และโรงเรียนคุณธรรมเข้ามาใช้ในการบริหารงานร่วมด้วย 3) ด้านมัททวะ (ความอ่อนโยน สุภาพเรียบร้อย) ควรยึดหลักตามมารยาทไทย วัฒนธรรมไทย รู้จักให้อภัยกันและกัน เคารพความเท่าเทียมกัน 4) ด้านตบะ (ความเพียร)  โดยนำหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และมีวินัยในตัวเอง 5) ด้านขันติ (ความอดทน) ผู้บริหารจะต้องใจเย็นมองโลกในเชิงบวกมีความอดทน

Abstract

The purpose of this research was to examine work performance based on ten principles of a righteous king (Dasarajadhamma principles) of school administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office (NPM-PESAO). The sample consisted of a total of 360 participants including 120 school administrators, 120 teachers and 120 chairpersons of basic education committee in schools under NPM-PESAO 1 and 2 in the 2019 academic year. The instrument for data collection was a set of rating-scale questionnaires with the reliability of 0.987 and the discriminative power ranging from 0.240 to 0.842. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. Work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO, as a whole and each aspect was at a high level.

2. Work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO, as perceived by participants with different positions, as a whole showed statistical significance at .01 level.

3. Work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO, as perceived by participants from different school sizes as a whole and each aspect was not different.

4. Work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO, as perceived by participants from different work experiences as a whole and each aspect was not different.

5. Work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO, as perceived by participants from different schools as a whole and each aspect showed statistical significance at .01 level.

6. The guidelines for developing work performance based on ten principles of a righteous king of school administrators under NPM-PESAO proposed five aspects: 1) Sila (Maintaining Good Conduct). School administrators should be examples to their subordinates and stakeholders by observing and practicing the percepts of Dhamma teaching, 2) Ajjava (Honesty). School administrators should transform the Buddhism based principles from the Upright School Project and Moral School Project into practice, 3) Madhava (Kindness and Politeness). School administrators should follow Thai manners and cultures. The qualities in terms of forgiveness and respectfulness should be also employed in performing duties, 4) Tapa (Diligence). School administrators should be self-discipline and implement the working principles of King Rama IX into practice to achieve success, 5) Khanti (Patience). School administrators should be patient and optimistic in performing their duties.

คำสำคัญ
การปฏิบัติหน้าที่, ทศพิธราชธรรม
Keywords
Work Performance, Ten Principles of a Righteous King
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,686.57 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 21:52:40
View 609 ครั้ง


^