ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Development of Teachers’ Potential to Enhance Student Discipline at Ban Huaikok Nongkhem School under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
เบญจภรณ์ จิรมหาศาล รหัส 61421229145 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย รวม 12 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 129 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 52 คน และกลุ่มผู้นิเทศ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความพึงพอใจของครูในการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และผู้ปกครอง โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า      

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาของครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า 1) สภาพเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เทคนิควิธีจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยนักเรียน ขาดการพัฒนาศักยภาพที่เป็นระบบและต่อเนื่อง นักเรียนขาดการมีวินัย สังเกตได้จากพฤติกรรมการแต่งกาย การรักษาความสะอาดร่างกายของตนเอง การเข้าแถว การตั้งใจเรียน การทิ้งขยะ ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่รักษาสมบัติของโรงเรียน 2) ปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ ความเข้าใจ เทคนิควิธีจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยนักเรียน ภาระงานที่รับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาอบรม จึงส่งผลให้นักเรียนขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวม

2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน ได้แก่ แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาครู ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ (Professional Learning Community: PLC) 3) การศึกษาดูงาน และ 4) การนิเทศภายใน และแนวทางที่ใช้เสริมสร้างวินัยนักเรียนมี 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) ครูสัญจร 2) พระธรรมนำวินัย และ 3) Cleaning day

3. ผลในการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม พบว่า

3.1 ผลที่เกิดกับครู 1) ครูที่ได้รับการพัฒนามีความรู้ ความเข้าใจในการเสริมสร้างวินัย ในภาพรวม จากการดำเนินงานในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง (ar{x} = 2.53) และวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (ar{x}  = 4.24)  มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 69.23 2) การดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนของครูที่สังเกตโดยกลุ่มผู้นิเทศ โดยรวมดำเนินการในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย (ar{x}  = 2.40) และในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (ar{x}  = 5.00) มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 100 และในทุก ๆ ด้านมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 100 

3.2 ผลที่เกิดกับนักเรียน 1) ความพึงพอใจของผู้ร่วมวิจัยต่อพฤติกรรมวินัยของนักเรียน ในวงรอบที่ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ar{x}  = 3.36) ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x} = 4.92) โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 95.12 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมวินัยของนักเรียนโดยรวม ในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.10) ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ar{x} = 4.23) โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 59.47

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the current conditions and problems of teachers’ potential to enhance student discipline at Ban Huaikok Nongkhem School under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1, 2) establish the guidelines for developing teachers’ potential to enhance student discipline, and 3) monitoring the effects of teachers’ potential development to enhance student discipline. The action research was conducted with two spirals comprising planning, action, observation, and reflection. The research target group consisted of 12 co-researchers and the researcher. The target group for development consisted of 12 teachers, 129 students, 52 informants, and three supervisors. The research instruments were interview forms, participatory observation forms, a teacher satisfaction questionnaire on the workshop, a satisfaction questionnaire of a researcher, co-researchers and parents with the Indexes of item-Objective Congruence (IOC) value of 1.00. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and percentage and progress. 

The findings of this study were as follows:

1. The conditions and problems of teachers in enhancing student discipline revealed that teachers lacked knowledge and understanding on techniques and approaches for organizing student disciplinary activities. Teachers also lacked opportunities for systematically and continuously developing potential. Students lacked discipline which could be observed from students’ behaviors in terms of dressing codes, personal hygiene, student assembly, class attention, littering behaviors, irresponsible for their assigned duties, school property cares, 2) Problems regarding enhancing student discipline found that teachers lacked knowledge and understanding on techniques and approaches to organize activities to strengthen student discipline. Moreover, teachers had over workloads resulting in limited time for training. As a result, students lacked self and public responsibility.

2. The guidelines for developing teachers’ potential to enhance student discipline consisted of four approaches: 1) workshops, 2) professional learning community Process (PLC), 3) study tour, and 4) internal supervision. The guidelines for enhancing student discipline covered three activities: 1) Teacher Traveling, 2) Dharma Conducting Discipline, and 3) Cleaning day.

3. The effects after the intervention revealed that: 

3.1 Teachers. 1) Teachers should develop their knowledge and understanding in terms of student discipline enhancement as a whole from the first spiral had a mean value at a medium level (ar{x} = 2.53). In the second spiral, a mean score was at a high level (ar{x}  = 4.24) with the percentage of progress of 69.23; 
and 2) Student discipline enhancement operations of teachers observed by supervisor groups as a whole in the first spiral had a low level of mean (ar{x} = 2.40), whereas in the second cycle showed the highest level of mean (ar{x}  = 5.00) with a progressive percentage of 100. All aspects had the progress percentage of 100.

3.2 Students. 1) the satisfaction of the co-researchers toward the student disciplinary behaviors in the first spiral, the overall mean was at a medium level (ar{x} = 3.36). In the second spiral, there was the highest level (ar{x} = 4.92) with the percentage of progress of 95.12; and 2) Parents 'satisfaction toward students' disciplinary behaviors as a whole in the first spiral was at a medium level (ar{x} = 3.10), compare to the second spiral was at a high level (ar{x} = 4.23) with the average percentage of progress of 59.47.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การเสริมสร้างวินัยนักเรียน
Keywords
Teachers’ Potential Development, Student Discipline Development
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,803.13 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ตุลาคม 2563 - 16:20:58
View 483 ครั้ง


^