ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
School Administrators’ Creative Leadership Components Affecting Effectiveness of Secondary Schools under Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้จัดทำ
บุศรา ปุณริบูรณ์ รหัส 61421229150 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน ครูผู้สอน จำนวน 250 คน รวมทั้งสิ้น 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.36–0.69 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.39–0.76 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งไม่มีความแตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ด้านที่มีอำนาจพยากรณ์ ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และด้านทักษะคิดวิเคราะห์

7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านการทำงานเป็นทีม มีการแจกแจงบทบาทหน้าที่ การกำหนดเป้าหมาย และการติดตามผลการปฏิบัติงาน 2) ด้านคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วม และเรียนรู้ให้หลากหลาย และ 3) ด้านคิดวิเคราะห์ มีการส่งเสริมการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ การฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต และการนำประสบการณ์เดิมมาใช้

Abstract

The purpose of this research aimed to examine school administrators’ creative leadership components affecting effectiveness of secondary schools under Secondary Educational Service Area Office 21, classified by positions, work experiences and school sizes. The sample consisted of 102 administrators, and 250 teachers, yielding a total of 352 participants. The research instruments for data collection included two sets of 5-point rating scale questionnaires containing a survey of school administrators’ creative leadership components with the discriminative power (r) between 0.36 and 0.69 and the reliability of 0.95, and a survey of secondary school effectiveness with the discriminative power (r) between 0.39 and 0.76 and the reliability of 0. 94. Statistics for data analysis were percentage, means, standard deviation, One-way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The components of creative Leadership of school administrators as perceived by participants were at a high level in overall.

2. The overall effectiveness of secondary schools as perceived by participants was at a high level.

3. The components of creative leadership of school administrators as perceived by participants, classified by positions, work experiences, and school sizes, showed statistical significance at .01 level.

4. The effectiveness of secondary schools, as perceived by participants with different work experiences and school sizes, showed statistical significance at .01 level. In terms of positions, there was no difference.

5. The relationship between creative leadership of school administrators and effectiveness of primary schools had a positive relationship at the .01 statistical significance level.

6. The creative leadership components of school administrators had the predictive power on effectiveness of secondary schools in terms of teamwork, creativity, and analytical skills.

7. The guidelines for developing creative leadership of school administrators proposed three aspects needing improvement: 1) Teamwork. School administrators should involve clarifying roles and responsibilities, establishing goals, and following up on performance; 2) Creative. School administrators should provide job rotation, offer personnel opportunities for participation, and provide opportunities for a range of learning experiences; and 3) Analytical thinking. School administrators should support personnel participation in workshops, reading skills and analytical thinking development, self-training to be more observant, and applying prior experience into practices.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Creative Leadership, Effectiveness of Secondary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,244.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ตุลาคม 2563 - 14:40:38
View 1361 ครั้ง


^