ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting Student Quality of Primary Schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
อัญรินทร์ แก้วอินธิ รหัส 61421247102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับคุณภาพผู้เรียน 4) เพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 88 คน ครูผู้สอน จำนวน 272 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตาราง Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.22-0.84 และค่าความเชื่อมั่น .95 2) แบบสอบถามคุณภาพผู้เรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-0.85 และค่าความเชื่อมั่น .96  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก 

2.  คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก 

3.  ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 

4.  ปัจจัยทางการบริหารที่สามารถพยากรณ์คุณภาพผู้เรียนได้ คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย (X3) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X5) ด้านภาวะผู้นำ (X1) ด้านการจูงใจ (X4) และด้านการพัฒนาบุคลากร (X2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 99.70 

   สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้
            Y’ = .031+.224X3+.188X5+.187X1+.214X4+.194X2

     และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ 
            Z’y = .231X3+.258X5+.248X1+.267X4+.202X2

5.  แนวทางในการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน มีจำนวน 5 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมาย ด้านการจูงใจ และด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม 
 

Abstract

The purposes of this study were to: 1) examine the level of administrative factors, 2) examine student quality level, 3) investigate the relationship between administrative factors and student quality, 4) to identify the predictive power of administrative factors affecting student quality, and 5) identify the guidelines to develop the administrative factors affecting student quality. The samples consisted of 360 school administrators and teachers under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the 2021 academic yearcomprised 88 administrators and 272 teachers. The sample size was determined according to the table of Krejcie and Morgan formula. The participants were selected using multi-stage sampling technique. The instruments used in data collection consisted of 1) a set of questionnaires on administrative factors, which obtained index of item-objectives congruence (IOC)between 0.80-1.00, discriminative power index between 0.22-0.84, and reliability index at 0.95, and 2) a set of questionnaires on student quality which obtained the IOC between 0.80-1.00, discriminative power index between0.20-0.85, and reliability index at 0.96. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product-moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. 

The findings were as follows:

1. The administrative factors of primary schools were at high level.

2. The student quality of primary schools was at high level.

3. Administrative factors and student quality were correlated with statistical significance at .01.

4. Administrative factors in Vision and Goal (X3), Participative Management (X5), Leadership (X1), Motivation (X4), and Personnel Development (X2) could predict the student quality with statistical significance at .01, and the predictive power was 99.70 percent.

       The regression equation of raw scores could be summarized as follows.
            Y’ = .031+.224X3+.188X5+.187X1+.214X4+.194X2 

       And the regression equation of standardized scores could be written as follow.
            Z’y = .231X3+.258X5+.248X1+.267X4+.202X2

5.  The guidelines to develop the administrative factors affecting student quality involved 5 aspects, namely Leadership, Personnel Development, Vision and Goal, Motivation, and Participative Management
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนประถมศึกษา
Keywords
Administrative Factors, Student Quality, Primary School
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,095.99 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 พฤษภาคม 2566 - 10:50:26
View 239 ครั้ง


^