สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู 4) อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู และ 5) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ระยะที่ 2 เสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม จำนวน 221 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.57 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานครพนมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จังหวัดนครพนม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 ด้าน คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา (X2) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 21.6 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y’ = 2.485 + .041 X2+.022 X4
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z’y = .284 Z2 + .212 Z4
5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยนำมาเสนอแนวทางพัฒนามี 2 ด้าน คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
The objectives of this study were: 1) transformational leadership levels of directors, 2) work effectiveness level of teachers, 3) relationship between transformational leadership of directors and work effectiveness of teachers, 4) predictive power of transformational leadership of directors in educational institutions affecting work effectiveness of teachers and 5) approaches concerning the development of transformational leadership of the directors. The research procedures were divided into 2 phases. The first phase was the study of levels of transformational leadership of directors in educational institutions and work effectiveness of teachers. The second phase was the development of approaches to improve transformational leadership of directors in educational institution. The sample of this study was 221 teachers in educational institutions under the Office of Nakhon Phanom Vocational Education Commission. The instrument used in data collection was a 5 - level rating scale questionnaire with validity index between 0.60 - 1.00, discrimination power between 0.57 - 0.85 and reliability value at 0.97. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson product - moment correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis.
The findings revealed that.
1. In an overall, transformational leadership of directors in educational institutions under the Office of Nakhon Phanom Vocational Education Commission was at high level.
2. The overall work effectiveness of teachers in educational institutions under the Office of Nakhon Phanom Vocational Education Commission was at high level.
3. Transformational leadership of the directors and work effectiveness of teachers in educational institutions under the Office of Nakhon Phanom Vocational Education Commission revealed positive correlation at medium level with statistical significance at .01 level.
4. The variables of transformational leadership of directors which affected work effectiveness of teachers were intellectual stimulation (X2) and individualized consideration (X4). The variables provided statistical significance at .05 level. The predictive power of these two variables was at 21.6%. The predictive equation could be constructed as follows.
The predictive equation in unstandardized score:
Y’ = 2.485 + .041 X2+.022 X4
The predictive equation in standardized score:
Z’y = .284 Z2 + .212 Z4
5. Transformational leadership of directors should be further developed these two variables: intellectual stimulation and individualized consideration.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,911.44 KB |