สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดย (1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม (2) ศึกษาระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการฝึกอบรมและ (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรหลังการฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดงมอนวิทยาคม อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.80) และมีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์ มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60–1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.46–0.78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21–0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 แบบวัดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 3) กิจกรรมของหลักสูตร 4) สื่อและแหล่งเรียนรู้ตามหลักสูตร และ 5) การวัดและประเมินผลหลักสูตร
2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were: 1) to develop a training curriculum to promote analytical thinking of Mathayomsuksa 6 students, 2) to investigate the effectiveness of the training curriculum to promote analytical thinking of Mathayomsuksa 6 students through (1) comparing students' knowledge and understanding of analytical thinking between before and after training, (2) studying students’ analytical thinking skills after training, and (3) studying the students’ satisfaction level towards the training curriculum.The research was conducted in four phases: Phase 1, study and analyze the fundamental data to develop the training curriculum, Phase 2, develop a training curriculum, Phase 3, trial the training curriculum and Phase 4, improve the training curriculum. The target group of the study was 37 Mathayomsuksa 6 students at Dongmornwitthayakhom School, Mueang Mukdahan District, Mukdahan Province under the Secondary Educational Service Area Office 22. They were studing in Semester 2, Academic Year 2019 by the time of data collection. The research instruments consisted of a training curriculum to promote analytical thinking of Mathayomsuksa 6 students, which were suitable in the highest level ( x = 4.80), and the IOC between 0.80-1.00. Cognitive test on analytical thinking which obtained the IOC between 0.60–1.00, item difficulty between 0.46–0.78, the discrimination power was between 0.21–0.82, and reliability index at 0.83, a test to measure analytical thinking skills which obtained the IOC between 0.80–1.00 and a questionnaire on students’ satisfaction towards the training curriculum with the IOC between 0.60–1.00. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples
The findings were presented as follows.
1. A training curriculum to promote the analytical thinking of Mathayomsuksa 6 students consisted of 5 components: 1) the purpose of the curriculum, 2) the contents of the curriculum, 3) activities of the curriculum, 4) the media and learning resources according to the curriculum and 5) measurement and evaluation of the curriculum.
2. The effectiveness of the training curriculum to promote analytical thinking of Mathayomsuksa 6 students found that 1) students’ knowledge and understanding of analytical thinking after the training was higher than before training with statistical significance at .01, 2) students’ analytical thinking skills was at very good level, and 3) students' satisfaction towards the training curriculum to promote analytical thinking was at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,931.82 KB |