ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Instructional Leadership of School Administrators Affecting the School Effectiveness under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
อรอุมา ใกล้ฝน รหัส 61421247204 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 264 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41 – 0.88 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยมีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.58 – 0.87 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (X4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (X6) และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจ (X1) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 72.20 สามารถเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
            Y’ = .832 + .320 X4 + .334 X6 + .150 X1


    และสามารถเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
            Z’y = .378 Z4 + .373 Z6 + .165 Z1

5. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจ 
 

Abstract

The purposes of this research was to investigate the predictive power of instructional leadership of administrators effecting school effectiveness. The samples of this study comprised 264 administrators and of academic department heads under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, academic year 2521. The participants were recruited using multi stage random sampling, and classified as the 132 school administrators and 132 academic department heads. The instruments used data collection was a rating scale questionnaire on Instructional leadership of school administrators, which indicated the IOC between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.41 – 0.88 and reliability index at 0.99, and a questionnaire of school effectiveness, which obtained the IOC between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.58 – 0.87 and reliability index at 0. 97. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient of Pearson, and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows.

1. The level of instructional leadership of school administrators were at high level both as a whole and each aspect.

2. The level of school effectiveness level both as a whole and each aspect were at high level.

3. The relationship between instructional leadership of school administrators and school effectiveness showed positive correlation with statistical significance at .01.

4. The Instructional leadership of school administrators in promoting learning atmosphere (X4), supervision, monitoring and evaluation of teaching and learning management (X6) and vision, goals and missions setting (X1) were able to predict school effectiveness at a statistical significance of the . 01 level, with a predictive power of 72.20 percent. The equation could be summarized in raw scores as follows.
            Y’ = .832 + .320 X4 + .334 X6 + .150 X1


        and the predictive equation standardized score as
            Z’y = .378 Z4 + .373 Z6 + .165 Z1

5. The guidelines to develop instructional leadership of school administrators affecting the school effectiveness comprised three aspects, promoting learning atmosphere, supervision, monitoring and evaluation of teaching and learning management and vision, goals and missions setting.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Leadership, Instructional leadership of school administrators, school effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,285.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 กุมภาพันธ์ 2566 - 10:27:39
View 291 ครั้ง


^