ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Development of Learning Leadership Indicators of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
อนุชิต พันธ์กง รหัส 61421247211 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดทำกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน และครูผู้สอน จำนวน 572 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์อัตราส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่างต่อตัวแปรที่ศึกษา เป็น 20 : 1 การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .37-.81 ค่าความเชื่อมั่น .99 และระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย 116 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นการเรียนรู้เป็นทีม จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ การใช้เทคโนโลยี จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ ความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จำนวน 31 ตัวบ่งชี้ และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ จำนวน 27 ตัวบ่งชี้    

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 95.72, df = 93, p-value = .40, GFI = .98, AGFI = .96, RMSEA = .008) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ และ 4) แนวทางการใช้ตัวบ่งชี้ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop learning leadership indicators of school administrators, 2) examine the congruence of the developed structural model of learning leadership indicators of school administrators with the empirical data, and 3) develop a manual on the implementation of learning leadership Indicators of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 22. The study was conducted in three phases. The first phase was the development of the learning leadership indicators of school administrators by synthesizing related documents and research articles as well as determining conceptual framework and drafting the indicators. The second phase was the congruence examination of the developed structural model of learning leadership indicators of school administrators with the empirical data. The samples consisted of 572 school directors, deputy directors, chief executives and teachers. Sample size  was determined using the sample to variable ratio scale between the samples and variables of 20: 1. The samples were recruited using multi-stage random sampling. The instrument used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with index of item objective congruence between .60- 1.00, discrimination index between .37-.81 and reliability index at .99. The third phase was the development of a manual of learning leadership indicators for school administrators. The manual was evaluated by five experts.

The results of this study showed that,

1. The learning leadership indicators of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 22 comprised five principal components,  19 sub-components, and 116 indicators. The indicators were classified as: 17 indicators on team learning, 16 indicators on technology application, 25 indicators on creativity, 31 indicators on environmental arrangement to support learning, and 27 indicators on innovative learning development.

 2. The structural model of learning leadership indicators of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 22 was congruent with the empirical data (Chi-Square = 95.72, df = 93, p-value = .40, GFI = .98, AGFI = .96, RMSEA = .008), which confirmed the stated hypothesis.

3. The manual of the learning leadership indicators of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 22 consisted four components: 1) rationale and background; 2) objectives; 3) principal components, sub-components and indicators; and 4) guidelines on indicator implementation. The manual evaluation from the experts showed the appropriateness value at the highest level.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเรียนรู้ ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตัวบ่งชี้
Keywords
learning leadership, learning leadership of school administrators, indicators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,716.70 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 16:38:17
View 472 ครั้ง


^