สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร 4) ศึกษาแนวทางป้องกันพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่กระทำผิดซ้ำ ในเรือนจำจังหวัดสกลนคร จำนวน 182 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. พบว่าพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่ต้องโทษในเรือนจำจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.96)
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลและการต้องโทษ ด้านอายุ ด้านสถานภาพสมรสก่อนต้องโทษครั้งล่าสุด ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนก่อนต้องโทษ ด้านรวมกำหนดโทษที่ต้องโทษทั้งหมดก่อนการต้องโทษครั้งล่าสุด และด้านกำหนดโทษที่ต้องโทษครั้งล่าสุด ในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00
3. ส่วนปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (β=.338) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยสามารถทำนายระดับพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 20.00
4. แนวทางป้องกันพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ควรบัญญัติบทลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดให้หนักกว่าฐานความผิดเดิม ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ควรมีการประสานความร่วมมือในรูปแบบของภาคีเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ครอบครัวและคนสังคมควรให้กำลังใจและให้โอกาสผู้เคยต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวกลับใจ ควรมีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการดูแลผู้ต้องขัง และกรมราชทัณฑ์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรช่วยเหลือการหางานทำ การประกอบอาชีพมารองรับแก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไป
The purposes of this study included the following: 1) to investigate narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison, 2) to compare narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison on the basis of their personal traits, 3) to examine factors contributing to narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison, and 4) to explore and gain guidelines on preventing narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison. Obtained by employing Simple Random Sampling, the samples consisted of 182 narcotic inmates of Sakon Nakhon Provincial Prison. The questionnaire was used to collect the data and statistics adopted for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One – way ANOVA, and Multiple Linear Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. It was found that the narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison, as a whole, was at the moderate level ( =2.96).
2. Comparing narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison based on their ages, marital statuses before the last conviction, monthly incomes before the last conviction, total punishments before the last conviction, and the punishments before the last conviction, it was found that the recidivism of the narcotic inmates whose ages, marital statuses, monthly incomes and punishments differed, as a whole, was significantly different at .00 statistical level.
3. The social and environmental factors (β=.338) significantly had significantly influenced on narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison at .00 statistical level. These social and environmental factors could be used to correctly predict narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison 20%.
4. Some guidelines for preventing narcotic inmates’ recidivism of Sakon Nakhon Provincial Prison were gained. More severe punishments for recidivism than those stated in the Narcotics Acts should be regulated. Collaborative network of communal and judicial organizations should be built. Families, people in the society and judicial units should co-work to support, encourage and provide the chances for the ex-inmates to be able to change themselves. The number of the officers should be increased so that there will be enough authorities, guards and wardens to supervise and control the inmates. The Department of Corrections and other involved units and offices should assist the newly released inmates who completed their imprisonment to find jobs.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,794.75 KB |