ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Factors Affecting the Effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
อนุสรณ์ อุปคุณ รหัส 61426423105 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง , รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงกรหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ปัจจัยการบริหารของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.67) และประสิทธิผลของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x=3.93)

2.  ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยการบริหารทั้งหมด สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ ประสิทธิผลของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 42.10 โดยตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานสูงสุดคือ ปัจจัยกระบวนการ (β=.476) รองลงมาคือปัจจัยนำเข้า (β=.291) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ตัวแปรปัจจัยบริบท 

3. แนวทางการการพัฒนาประสิทธิผลโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษา พบว่า พระสงฆ์ และผู้นำของชุมชนควรชักชวนชาวบ้านในหมู่บ้านของตนเอง ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่ละเมิดจะไม่คุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ควรส่งเสริมให้มีการงดหรือไม่รับประทานเนื้อสัตว์ในวันพระ ควรเสริมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม เข้าวัด รักษาศีล 5 อยู่เสมอ นอกจากนี้ มหาเถรสมาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านงบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ และขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ในด้านการสนับสนุนการดำเนินโครงการในเชิงการบูรณาการกับชุมชนเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ โดยยึดหลัก บวร “บ้าน วัด โรงเรียน หรือราชการ” 
 

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of the factors and the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province, 2) to examine both the direct and indirect influences of the administrative factors on the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province, and 3) to explore and gain guidelines on developing  the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province. Obtained through stratified random sampling , the samples were 399 people who participated in the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province. A questionnaire was used as a tool for data collection and statistics employed for Data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, and One–way ANOVA.  

The study revealed these results:

1. The administrative factors in the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project, Meuang District, Sakon Nakhon Province, were at the high level (x =3.67). The effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project, Meuang District, Sakon Nakhon Province, as a whole, was at the high level     (x =3.93).

2. The administrative factors which were the independent variables could be used to correctly predict the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province 42.10%.Of these administrative factors/independent variables, the process factor had  the highest standardized coefficient (β=.476) and the input factor contained  the second highest standardized coefficient (β=.291). Altogether, these factors, except for the context factor could be used to predict the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province at  .05 statistical significance level.

3. Some guidelines were suggested for developing the effectiveness of the Five Precepts Observing Villages Project in Meuang District, Sakon Nakhon Province. The monks and community leaders should persuade the villagers  to vow that they will not threaten/jeopardize anyone’s lives or intrude other people’s properties. The villagers should be promoted to refrain from having meat on Buddhist holy days.  The people should be consistently encouraged to attend the temples to observe the five precepts and maintain their morality, virtue, and ethics. The Sangha Supreme Council of Thailand and relevant organizations should continuously support the project in terms of the budget, tools, materials, buildings, locations. The Local Government Organizations should be asked to assist the functions of this project. Upholding the principles of Bor. Wor. Ror. (Home, Temple, School/Government), the community as well as the people should be taken to participate in and integrate into the project in order to propel and drive it forward.
 

คำสำคัญ
ประสิทธิผล , ปัจจัยการบริหาร , โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5
Keywords
Effectiveness, administrative factor, Five Precepts Observing Villages Project
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,786.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 01:58:32
View 687 ครั้ง


^