สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนครสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.739-.929 ค่าความเชื่อมั่น .843 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร มีความรู้ในการจัดการขยะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.41) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะในเขตเทศบาลนครสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x=3.21) และประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x=3.21)
2. ความรู้ในการจัดการขยะ ด้านประโยชน์ของการจัดการขยะ (β =.498) ความหมายของขยะ (KN1) (β=.218) และการจัดการขยะ (KN4) (β=.189) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านประเภทของขยะ (β=.095) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร ได้ร้อยละ 45.60 (R2Ad=.456)
การส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (PAR4) (β=.222) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (PAR1) (β=.205) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร ได้ร้อยละ 34.30 (R2Adj=.343) ส่วนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร
The purpose of this research included the following: 1) To study the level of waste management knowledge, people’s participation, and the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality, 2) To investigate the influences of waste management knowledge and people’s participation on the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality. The samples consisted of 398 people whose domiciles were in Sakon Nakhon Municipality, That Choeng Chum Sub-district, Muaeng Sakon Nakhon District. They were obtained through stratified random sampling technique. The questionnaire with 0.80-1.00 IOC, 0.739-.929 discrimination, and .843 reliability was employed as a tool for data collection and statistics used for data analysis incorporated frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The overall Sakon Nakhon people had waste management knowledge at the high level ( x=4.41). At the same time, they participated in managing the waste in Sakon Nakhon Municipality, as a whole, at the moderate level ( x=3.21) while the efficiency of waste management in Sakon Nakhon Municipality, as a whole, was at the high level ( x=3.21).
2. Concerning waste management knowledge, these aspects significantly influenced on the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality at .01 statistical level: the advantages of waste management (β =.498), definitions of the waste (KN1) (β=.218), waste management (KN4) (β=.189). In addition, the knowledge of the types of the wastes significantly influenced on the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality at .05 statistical level and it could be used to correctly predict the efficiency of the people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality 45.60% (R2Ad=.456).
Regarding the people’s participation, these aspects significantly influenced on the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality at .01 statistical level: participating in the assessment (PAR4) (β=.222) and participating in making decision (PAR1) (β=.205). Altogether, they could be used to correctly predict the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality 34.30% (R2Adj=.343). In contrast, the participation in the operation and receiving benefits did not influence on the efficiency of people’s waste management in Sakon Nakhon Municipality.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,358.65 KB |