ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
Strategic Leadership and Public Participation Affecting the Effectiveness of the Government Sector’s Services in Tao Ngoi District, Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
สุจิตรา สิงห์หันต์ รหัส 61426423130 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนและประสิทธิผลการบริการภาครัฐ ของส่วนราชการในเขตอำเภอเต่างอย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐ ของส่วนราชการในเขตอำเภอเต่างอย 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐ ของส่วนราชการในเขตอำเภอเต่างอย ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จำนวน 394 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ในเขตอำเภอเต่างอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.71) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้าน อำเภอเต่างอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x=3.62) และประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.62) 

2. ตัวแปรย่อยทั้ง 5 ตัวแปรของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลการบริหารภาครัฐของส่วนราชการในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 69.60 (R2=.690) และมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F=180.649) โดยที่การปฏิบัติอย่างมีคุณภาพ (LEA4) มีค่าเบต้ามากที่สุด (β=.355) รองลงมาคือ การควบคุมองค์การให้สมดุล (LEA5) การสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ (LEA3) และการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (LEA1) ตามลำดับ (β=.294, .154, .143) ยกเว้นการบริหารทรัพยากรในองค์การ (LEA1)

3. ตัวแปรย่อยทั้ง 5 ตัวแปร ของการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 46.80 (R2=.468) และมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F=87.311) โดยที่การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (PAR3) มีค่าเบต้ามากที่สุด (β=.441) รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (PAR4) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (PAR1) (β=.167, .138) ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (PAR2)

4. ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (LEA) และการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR) ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเบต้า .725 และ .193 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (LEA) ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR) ค่าเบต้า=.143 
 

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of strategic leadership, public participation and the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District, 2) to examine the influences of the strategic leadership on the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District, 3) to study the influences of public participation on the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District. The samples consisted of 394 people whose residences were located in Tao Ngoi District, Sakon Nakhon Province. Stratified Random Sampling the questionnaire was an instrument employed for data collection and statistics adopted for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regression Analysis.

The study revealed these results:

1. The strategic leadership of the authorities in Tao Ngoi District, as a whole, was at the high level (x =3.71). The public participation in the village development of Tao Ngoi District, as a whole, was at the high level (x =3.62). Also, the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District, as a whole, was at the high level (x =3.62). 

 2. All 5 minor variables of strategic leadership could be used to explain the variance of the dependent variable -- the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District, Sakon Nakhon Province 69.60% (R2=.690) and they significantly correlated with the dependent variable at .01 statistical level (F=180.649). Of these variables, quality practice/performance (LEA4) contained the highest beta (β=.355). Controlling the balance of an organization (LEA5), the support of the efficient organizational culture (LEA3), the establishment of strategic leadership (LEA1), respectively, gained the second, third and fourth highest beta (β=.294, .154, .143).  Nevertheless, managing the resources in the organization (LEA1) did not significantly correlate with the dependent variable. 

3. All 5 minor variables of the public participation could be used to explain the variance of the dependent variable – the effectiveness of the government sector’s services in Tao Ngoi District, Sakon Nakhon Province 46.80% (R2=.468) and significantly correlated with the dependent variable at .01 statistical level (F=87.311). Of these variables, the participation in receiving the benefits (PAR3) gained the highest beta (β=.441). The participation in an assessment/evaluation (PAR4) and the participation in making decision (PAR1) obtained the second and third highest participation, respectively (β=.167, .138). Nevertheless, the participation in carrying out (PAR2) did not significantly correlate with the dependent variable. 

4. The two variable s of the strategic leadership (LEA) and public participation (PAR) significantly influenced on the effectiveness of the government sector’s services at .01 statistical level with the beta of .725 and .193 respectively. In addition, it was found that the strategic leadership (LEA) indirectly resulted in the effectiveness of the government sector’s services at .01 statistical level of significance via public participation (PAR) with the beta of .143.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ประสิทธิผลบริการภาครัฐ
Keywords
Strategic leadership, public participation, the effectiveness of the government sector’s services
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,025.13 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 11:16:20
View 362 ครั้ง


^