สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานจ้าง) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 226 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x=3.97) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x=4.11)
2. ความสุขในการทำงานด้านความสำเร็จในงาน (β=.446) ด้านการเป็นที่ยอมรับ ((β=.221) ด้านการติดต่อสัมพันธ์ (HAP1) (β=.171) และด้านความรักในงาน (β =.162) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 78.70 (R2Adj=.787)
3. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ผู้บริหารควรพัฒนาศักยภาพในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การฝึกอบรม เพื่อให้สามารถบริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการกำหนดนโยบายและการบริหารที่เหมาะสมเอื้อให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีแรงจูงใจการทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน และเอาใจใส่ให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่าที่จะทำได้ ควรส่งเสริมให้พนักงานทำงานเป็นทีม และพัฒนาสมรรถภาพของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ควรมีการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอต่อการทำงาน และควรเปิดโอกาสให้กับบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
The purposes of this research included the following: 1) To study the level of happiness at work and performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry, 2) To investigate the influences of happiness at work on the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry, 3) To explore and gain guidelines on enhancing and developing the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry. Obtained through stratified random sampling technique, the samples were composed of 226 personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry (government officials, full-time employees, government employees, hired employees). The questionnaire was used as the tool for data collection and statistics employed for data analysis incorporated frequency, percentage, standard deviation, and Multiple Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The overall happiness at work of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry was at the high level (x =3.97). Likewise, the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry, as a whole was at the high level as well ( x=4.11)
2. In terms of their happiness at work, these aspects significantly influenced on the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry, at .01 statistical level: success in work (β=.446), recognition/acceptance (β=.221), connection and relationship (HAP1) (β=.171), and love of working (HAP1) (β=.171). These aspects could be used jointly to correctly predict the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry 78.70% (R2Adj=.787).
3. These guidelines were given for enhancing and developing the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, Interior Ministry: the administrators should improve their potential for running their administrative work by either increasing and pursuing their knowledge/education by themselves or attending trainings to enable themselves to efficiently execute their jobs; proper policies and administration should be established so that the officials/staff can work happily, encouragingly and be motivated to develop the quality of their work lives; the personnel should be taken care of equally and as much as possible; teamwork should be supported; the capabilities of the personnel in every level should be continuously developed; work environment/atmosphere should be improved to make it suitable to work; adequate tools/devices/materials should be provided; and the personnel should be given the opportunity to take part in setting up the goals of functioning their work.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,423.65 KB |