ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็น ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Factors Affecting the Professional Learning Community in Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast
ผู้จัดทำ
ปาริชาติ สีพันธ์บุญ รหัส 61632233103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัลนิกา ฉลากบาง , ดร. เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และศึกษาโรงเรียนดีเด่นการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 2 โรงเรียน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 550 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ โดยการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.49 – 0.84 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.54 – 0.95 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร บรรยากาศและวัฒนธรรม  วิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ การรับรู้ความสามารถร่วมกันของครู และโครงสร้างโรงเรียน

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าChi-square = 116.88, df = 97, p-value = 0.08, X2/df = 1.20, RMSEA = 0.01, GFI = 0.98, AGFI = 0.94 โดยการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากโครงสร้างโรงเรียน ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยผ่านตัวแปรโครงสร้างโรงเรียน และได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร รองลงมา คือ บรรยากาศและวัฒนธรรม และโครงสร้างโรงเรียน โดยตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 100 
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the causal relationship model of factors affecting professional learning community (PLC) in secondary schools, 2) to validate the congruence between the causal relationship model of factors affecting PLC in secondary schools and the empirical data. The research was divided into two phases: Phase I was related to the development of model by analyzing relevant documents and research, interviews with seven experts and a case study of two outstanding schools of PLC. Phase II was concerned the checking of model consistency and empirical data. The sample consisted of 550 school administrators and teachers in secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast in the academic year 2021, obtained through multi-stage random sampling. The data collection instrument was a set of 5-rating scale questionnaires with discriminative power of the PLC in secondary schools from ranged 0.49 to 0.84, the reliability at 0.96, and the discriminative power of factors affecting PLC in secondary schools ranged from 0.54 to 0.95, the reliability at 0.97. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and a statistical software package for causal relationship model.

 The findings were as follows: 

1. The factors affecting PLC in secondary schools consisted of five factors: school administrators’ transformational leadership, climate and culture, vision and mission, collective teacher efficacy, and school structure. 

2. The developed model was consistent with the empirical data with the statistical values as follows: Chi-square = 116.88, df = 97, p-value = 0.08,  x2/df = 1.20, RMSEA = 0.01, GFI = 0.98, AGFI = 0.94. The effect on school PLC estimated its influence directly from school structure. The indirect effect was school administrators’ transformational leadership, whereas school administrators’ transformational leadership estimated a total effect of its highest influence, followed by climate and culture, and school structure. The said variables could explain the variance of school PLC in secondary schools as 100.00 percent.
 

คำสำคัญ
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น, การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
Causal Relationship Model, Professional Learning Community, Factors Affecting the Professional Learning Community
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,711.02 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:16:44
View 973 ครั้ง


^