สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่ผ่านมาและปัญหาของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ตามมาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณา 2) หานวัตกรรมและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 3) ตรวจสอบผลการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ตามมาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณา และ 4) ประเมินความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพภายในของครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย เป็นครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 40 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายตามโครงสร้างบริหารโรงเรียน จำนวน 4 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน 5 คน และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นลงมือปฏิบัติตามแผน 3) ขั้นสังเกตการณ์และ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพที่ผ่านมา และปัญหาของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ตามมาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณามีการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี โดยถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำคู่มือประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา แต่ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่แท้จริง เพราะเกิดจากการดำเนินงานของครูผู้รับผิดชอบเพียงกลุ่มเดียว ปัญหาในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ครู บุคลากร ยังมีความสับสนและไม่เข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพแนวใหม่ มีเจตคติต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพในเชิงลบมองว่าเป็นภาระงานเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากงานสอนและขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างจริงจัง
2. นวัตกรรมและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ประกอบด้วยการทำงานเป็นทีมและการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการดำเนินงานโดยใช้โครงการกิจกรรมตามมาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณา จำนวน 2 โครงการหลัก และดำเนินการโครงการย่อยตามมาตรฐานการศึกษา 37 โครงการ 163 กิจกรรม
3. ผลการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ตามมาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณา ผลการดำเนินการโครงการกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก การดำเนินการวิจัยครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ดัชนีชี้วัดและเป้าหมายที่กำหนดทุกประการ
4. ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพภายในของครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were to 1) examine the past conditions and problems of internal quality assurance operations in Ban Samkhamittraphap 3 School based on educational standards and issue considerations, 2) establish innovations and guidelines for improving internal quality assurance operations, 3) examine the effects after the development of internal quality assurance operations, and 4) assess knowledge and understanding of internal quality assurance of teachers, educational personnel, and the basic education institution committee members in Ban Samkhamittraphap 3 School. The research target group consisted of a researcher, co-researchers, including teachers, educational personnel, and the basic education institution committee members, yielding a total of 40 participants. A group of 24 key informants comprised four department heads based on the school administration structure, five student representatives from Prathomsuksa 6, five student representatives from Mathayomsuksa 3, five parent representatives, and five representatives from the basic education institution committee members. The research methodology employed a two-spiral participatory action research cycle comprising four stages of 1) planning, 2) action, 3) observation, and 4) reflection.
The findings were as follows:
1. The past conditions and problems of internal quality assurance operations in Ban Samkhamitraphap 3 School based on educational standards and issue considerations revealed that the internal quality assurance was operated annually as a part of the continuous educational administration process. A manual for school internal quality assessment was established but was unable to use as information for improving quality and standards of educational quality assurance. In addition, the internal quality assurance was operated by a single group of teachers in charge, causing ineffective operations. In terms of the problems, teachers and personnel were confused and did not understand a new approach for quality assurance operations. They also showed negative attitudes toward the internal quality assurance tasks as excessive workloads and a lack of participation in internal quality assurance operations.
2. The innovation and guidelines for developing internal quality assurance operations in Ban Samkhamitrapap 3 Schools consisted of teamwork, participatory management, and school activity projects based on educational standards and issue considerations, consisting of two main projects with 37 sub-projects and 163 activities.
3. The effects after the development of internal quality assurance operations in Ban Samkhamitrapap 3 School based on educational standards and issue considerations revealed that the overall project operations were rated at a high level. It could be concluded that the research achieved all aspects of the defined objectives, indicators, and target sets.
4. The overall assessment results on knowledge and understanding of school internal quality assurance of teachers, educational personnel, and the basic educational institutional committee members in Ban Samkhamittraphap 3 School were rated at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,314.44 KB |