ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model for Developing Leadership of Deputy Directors of Secondary Schools in the Northeast
ผู้จัดทำ
สมแพง อินอาน รหัส 61632250108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ รวมทั้งหมด 6 ตอน คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย องค์ประกอบภาวะผู้นำและองค์ประกอบของรูปแบบ ตอนที่ 2 วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2563 รวม 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ ตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรวจสอบความเหมาะสมยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผล ตอนที่ 1 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดลองใช้กับรองผู้อำนวยการโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 25 คน มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนใช้รูปแบบ ระยะใช้รูปแบบ และระยะติดตามผล ตอนที่ 2 สรุปการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการวิจัยพบว่า
        1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) การเสริมสร้างแรงจูงใจ และ 5) การมุ่งเน้นผลสำเร็จ  

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เอกสารประกอบการพัฒนา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การติดตามและประเมินผล 3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบด้วยการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ระยะติดตามผล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ) เท่ากับ 4.94 2) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ระหว่างระยะใช้รูปแบบกับระยะก่อนใช้รูปแบบ มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.20 และ 3) ภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ระหว่างระยะใช้รูปแบบกับระยะติดตามผล มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.60 จากผลการทดลองพบว่า รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความก้าวหน้าและมีพัฒนาการของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลแสดงว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้
 

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the leadership components of deputy directors of secondary schools in the Northeast, 2) to construct and develop a model for developing the leadership practices of deputy directors of secondary schools in the Northeast, and 3) to examine the effectiveness of the leadership development model of deputy directors of secondary schools in the Northeast. This research employed Research and Development (R&D) comprising three phases with six steps: Phase I was related to model investigation comprising two steps. Step 1: Creating a research conceptual framework, leadership components, and model components; Step 2: Analyzing a leadership development model for deputy directors of secondary schools in the Northeast in the academic year 2020. The samples consisted of 235 deputy directors of secondary schools in the Northeast. The research instrument was a set of 5-point rating scale questionnaires examining the leadership development of deputy directors of secondary schools in the Northeast. Statistics for data collection were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Phase I| was a model establishment and development comprising two steps. Step 1 was related to constructing a leadership development model; Step 2 was a model validation through expert reviews and confirmation on model appropriateness. Phase III was a model effectiveness examination comprising two steps. Step 1 was a model implementation with 25 school deputy directors under the Secondary Educational Service Area Office 21. Data were collected three times: before the model implementation, after the model implementation, and during the follow-up phase; Step 2 summarized the effects after the model implementation.

The findings were as follows:

1. The leadership components of the deputy directors of secondary schools in the Northeast consisted of five components: 1) visionary, 2) participative administration, 3) promotion of learning support for learners, 4) motivation enhancement, and 5) success-oriented focus.

2. The model for developing the leadership of deputy directors of secondary schools in the Northeast consisted of 1) principles, 2) objectives, 3) development documentations, 4) development processes, and 5) monitoring and evaluation.

3. The results from examining the effectiveness of the developed model after the implementation revealed that 1) the leadership of deputy directors of secondary schools in the Northeast during the follow-up phase as a whole was at the highest level (x = 4.94), 2) The perceived leadership of deputy directors of secondary schools in the Northeast between the pre-implementation phase and during the implementation phase showed the percentage progress of 25.20, and  3) the perceived leadership of deputy directors of secondary schools in the Northeast during the implementation phase and the follow-up phase showed the percentage progress of 25.60. From the research results, the deputy directors of secondary schools demonstrated a progressive improvement of effective leadership practices. The results also confirmed that the model for developing deputy directors of secondary schools in the Northeast was appropriate and practical.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ รองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
Leadership, School Deputy Directors, Secondary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 33,319.80 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:16:07
View 825 ครั้ง


^