สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินตัวนโยบายในด้านความชัดเจน ของนโยบาย การสื่อสารนโยบายไปสู่ผู้ปฏิบัติและการจัดสรรทรัพยากร 2) ประเมินการบริหารนโยบายระดับโรงเรียนในรูปแบบของโครงการครอบคลุมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และการมีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการในระยะที่ผ่านมา และ 3) ถอดบทเรียนความสำเร็จในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนที่มีผลงาน โดดเด่นต่างระดับกันด้านความเหมือนและความแตกต่างกัน การวิจัยใช้ระเบียบวิจัย เชิงประเมิน โดยการวิจัยผสานวิธี ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เป็นวิธีเสริม โดยศึกษาไปพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่าง การศึกษาเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ถึง 23 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 168 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 974 คน กลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ โรงเรียนขนาดกลาง 2 แห่ง ได้มาแบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาเชิงปริมาณที่มีผลการดำเนินงานโดนเด่นสูงและไม่โดดเด่น ศึกษาข้อมูลจากผู้บริหาร ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และกรรมการสถานศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีความชัดเจน สามารถสื่อสารสู่ผู้ปฏิบัติได้ และมีการจัดสรรทรัพยากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารนโยบายในระดับโรงเรียนมีการดำเนินงานสอดคล้องกันในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของผลผลิตได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยนำเข้าพบว่าควรพัฒนาบุคลากรให้มุ่งพัฒนางานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยงบประมาณและสื่ออุปกรณ์ที่เพียงพอและตรงกับความต้องการด้านกระบวนการ ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเป้าหมายและศึกษาวิธีปฏิบัติให้บรรลุตามที่นโยบายต้องการ จัดกระบวนการเรียนรู้เน้น Active Learning ตามแนวการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สร้างและขยายเครือข่ายการเรียนรู้ ปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน มีการกำกับติดตามสรุปรายงานเมื่อจบโครงการ
3. การถอดบทเรียนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติ โดดเด่นและไม่โดดเด่น มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
This research aimed to 1) evaluate the policy body in terms of clarity, communication with practitioners, and resource allocation; 2) evaluate school administrative policy of a comprehensive project covering contexts, inputs, processes, and impacts on past project outputs; and 3) examine lessons learned from policy implementation within schools with distinguished outstanding performances at different levels in terms of similarities and differences. The mixed methods research design combining elements of quantitative and qualitative methods was implemented equally and in parallel. The sample group for the quantitative study was drawn from 168 schools under the Secondary Educational Service Areas Office 19 to 23 in the academic year 2020 and selected by using a proportional stratified random sampling method. The key informants were drawn from each school, and included administrators, English language teachers, and Basic Education Board members, yielding a total of 974 participants. The samples for the qualitative study were two medium-sized schools from the samples in the quantitative study with high-outstanding performance and non-outstanding performance, obtained through purposive sampling. The key informants included administrators, English language teachers, Mathayomsuksa 6 students, and Basic Education Board members.
The findings were as follows:
1. The English language teaching reform policy provided clear communication with practitioners and resource allocations at a high level overall.
2. The overall school policy administration was consistent with the contexts, inputs, processes, and outputs at a high level. All factors had a positive correlation at a high level with a .01 level of significance. The variables that were reliable predictors of the products consisted of input and process factors.The guidelines for developing the input factors revealed that schools should support personnel development focusing on individual functional roles with sufficient budget, equipment, and needs. In the process aspect, practitioners were required to understand the goals and study how to perform them to accomplish the required policies. The instructional process should focus on active learning based on the Communicative Language Teaching (CLT) approach as well as building and expanding learning networks. All work performances must keep consistent with the sequence of operations and monitor a summary report at end of the project.
3. The lessons learned from the policy implementation of schools with high-outstanding performance and non-outstanding performance found similarities and differences in four aspects consisting of contexts, inputs, processes, and outputs.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,437.73 KB |