สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำทางวิชาการที่ควรพัฒนาของพนักงานครูในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครูในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครูในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสำรวจสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครู ได้แก่ พนักงานครูมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ประจำปีการศึกษา 2564 เทียบจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 152 คน ใช้การส่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบภาคสนามเป็นพนักงานครูในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครู ระยะที่ 2 แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาและระยะที่ 3 แบบประเมินตนเอง แบบประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนา และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครู พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย และ 49 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้ 1) การพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ (1) แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง (2) พัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ (3) พัฒนาด้านบุคลิกภาพ และมีตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด 2) การพัฒนานักศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ (1) การกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา (2) การรักษามาตรฐานของนักศึกษา (3) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา และมีตัวชี้วัด 12 ตัวชี้วัด 3) การเป็นแบบอย่างทางการสอน ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ 1) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) สร้างสื่อและนวัตกรรมในการสอน (3) ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย และมีตัวชี้วัด 15 ตัวชี้วัด 4) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ คือ (1) มีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (2) ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ และมีตัวชี้วัด 9 ตัวชี้วัด
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครูในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา การวัดและการประเมินผล
3. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของพนักงานครูก่อนการทดลองใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและหลังการทดลองใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were 1) to examine instructional leadership components and indicators that needed to be addressed among Savannakhet University teachers in the Lao People's Democratic Republic, 2) to construct and develop an instructional leadership model for developing Savannakhet University teachers, 3) to examine the effectiveness of the model for developing instructional leadership of Savannakhet University teachers. Using Krejcie and Morgan’s table and multi-stage sampling, the sample group for the survey phase on the conditions of instructional leadership of Savannakhet University teachers in the academic year 2021, obtained a total of 152 participants. The sample group for the model implementation phase consisted of 30 Savannakhet University teachers. The research tools for Phase I included expert interviews and a set of questionnaires on instructional leadership for teachers, Phase II featured development model evaluation forms, and Phase III included self-assessment evaluation forms, development model assessment forms, and interview forms. The quantitative analysis was done through statistical software packages, and the qualitative data were analyzed using content analysis.
The results showed that
1. The components of instructional leadership of teachers consisted of four main components with 11 sub-components, and 49 indicators as follows:1) Self-Development with three sub-components and 13 indicators: (1) seeking knowledge for self-improvement; (2) continuous professional development, and (3) personality development; 2) Student Development with three sub-components and 12 indicators: (1) supervising and monitoring student progress, (2) maintaining student standards, and (3) developing student achievements; 3) Teaching Role Models with three sub-components and 15 indicators: (1) emphasis on learner-centered approach, (2) creation of teaching materials and innovations, and (3) using various teaching methods; and 4) transformational leadership with two sub-components and nine indicators: (1) human relations with colleagues and (2) being visionary leaders.
2. The model for developing instructional leadership of teachers at Savannakhet University, Lao People's Democratic Republic consisted of principles, objectives, content, development processes, measurement, and evaluation.
3. The effects of the effectiveness of the model for developing instructional leadership of teachers revealed that the pre-implementation mean score was overall at a moderate level, whereas the post-implementation mean score reported a high level overall.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,537.13 KB |