สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง ๆ ละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 จัดทำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา และยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาโดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบประเมินภาวะผู้นำขององค์การนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 10 องค์ประกอบ 78 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การมีบุคลิกภาพและการมีมนุษย์สัมพันธ์ มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มี 10 ตัวบ่งชี้ 3) การมีวิสัยทัศน์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มี 10 ตัวบ่งชี้ 4) การสื่อสารที่ดี มี 7 ตัวบ่งชี้ 5) การมีความรับผิดชอบ มี 7 ตัวบ่งชี้ 6) การมุ่งมั่นพัฒนา มี 5 ตัวบ่งชี้ 7) การทำงานเป็นทีม มี 8 ตัวบ่งชี้ 8) การมีคุณธรรมจริยธรรม มี 6 ตัวบ่งชี้ 9) การมีทักษะการเจรจาต่อรองที่ดี มี 8 ตัวบ่งชี้ และ 10) การเสียสละ มี 7 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ 5) สื่อการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความถูกต้อง ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to 1) examine the components of the leadership of the student organization committee at Rajabhat Universities in the Northeastern region; 2) construct and develop a model for developing the leadership of the student organization committee at Rajabhat Universities in the Northeast region; and 3) validate the effectiveness of the developed model. This research and development approach (R&D) was performed in three phases: Phase I: Model Investigation through document inquiries, experts’ in-depth interviews, and a survey study. The sample group, obtained through purposive sampling, comprised 110 participants representing 11 student organization committees across Rajabhat Universities in the Northeastern region, with ten participants selected from each university. Phase II: Model Construction and Confirmation based on experts’ reviews. Phase III: Model Validation through the expertise of qualified specialists. The research instruments included an unstructured interview form, a set of rating scale questionnaires, and a leadership assessment form. Data were analyzed through frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The leadership of the student organization committee at Rajabhat Universities in the Northeastern region consisted of ten components with 78 indicators described as follows: 1) personality and human relations, with ten indicators; 2) leadership and followership, with ten indicators; 3) vision and creativity, with ten indicators; 4) effective communication, with seven indicators; 5) responsibility, with seven indicators; 6) determination, with five indicators; 7) teamwork, with eight indicators; 8) morality and ethics, with six indicators; 9) effective negotiation skills, with eight indicators; and 10) sacrifice, with seven indicators.
2. The model for developing leadership of the student organization committee at Rajabhat Universities in the Northeastern region included 1) principles, 2) objectives, 3) contents 4) development processes, 5) learning materials, and 6) measurement and evaluation.
3. The effect after the model validation and confirmation based on the expertise of qualified specialists revealed that the model for developing leadership within the student organization committee at Rajabhat Universities in the Northeastern region was accurate and appropriate at the highest level overall.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,793.16 KB |